รายการอัพเดท

หนังสือดีน่าสะสม ของคนรักหนังสือ มีแล้วที่นี่ http://www.thaibook.net/

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

กำเนิดมังกรหยก


















มังกรหยก 1 – ตำนานวีรบุรุษอินทรี
Condor Trilogy I: Legend of the Condor Heroes (LOCH) หรือ The Eagle-Shooting Heroes
เรื่อง มังกรหยก ภาค 1 เป็นยุทธจักรนิยายสำคัญยิ่งเรื่องหนึ่ง ของ กิมย้ง เป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั่วทุกมุมโลกที่มีคนจีน มีคนกล่าวถึงมากที่สุด นับตั้งแต่เรื่องนี้เป็นต้นไปนิยายของกิมย้งได้รับกา รยกย่องว่าเป็นงานชั้นครู เรื่องนี้จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งความสำเร็จของกิมย้ง
มังกรหยก 1 – ตำนานวีรบุรุษอินทรี เป็นชุดแรกของไตรภาค นิยายในไตรภาคนี้ได้แก่:
The Legend of the Condor Heroes (射鵰英雄傳) (1957)
The Return of the Condor Heroes (神鵰俠侶) (1959)
The Heaven Sword and Dragon Saber (倚天屠龍記) (1961)

กิมย้งเขียนนิยายเรื่อง มังกรหยก ภาค 1 (เสี้ยเตี่ยวเอ็งย้งตึ้ง) เป็นเรื่องที่ 3 ในชีวิตการเขียนวรยุทธนิยายของท่าน เรื่องนี้สร้างปรากฎการณ์กำลังภายในฟีเวอร์ทั้งเอเซีย ที่ประเทศไทย จำลอง พิศนาคะ นำมาแปลเป็นคนแรก เล่ากันว่า คนอ่านนิยายเรื่องนี้ตืดกันงอมแงม ขนาดไปที่เข้าแถวโรงพิมพ์เพื่อเฝ้ารอซื้อเล่มที่เพิ่งจะตีพิมพ์เสร็จ
มังกรหยกวรรณกรรมจีนที่มีบทบาทและอิทธิพลต่อวงการวรรณกรรมไทยเรา เห็นจะไม่มีประเภทใดได้รับความนิยมสูงสุ่งเท่า เรื่องจีนกำลังภายใน นับมาตั้งแต่สมัย สามก๊ก ที่เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ท่านอุตสาหะพยายามถ่ายทอดเรื่องราวจากจีนมาเป็นไทยจนกลายเป็นวรรณคดีอมตะนั่น ยังไม่มีเรื่องจีนเรื่องใดอีกเลยที่ผูกมัดหัวใจคนไทยได้ฉกาจฉกรรจ์ จนกระทั่งมาถึงยุคกำลังภายใน ก็เช่นกัน ไม่มีนิยายจีนกำลังภายในเรื่องใดจะยิ่งใหญ่ไปกว่า มังกรหยก

ฟ้ากว้างใหญ่      ดินไพศาล        สุดสายตา
สร้างชีวา           ในโลกา            เหลือคณา
รุกราน               ทำลายกันเอง   ไม่เลิกรา
เวทนา              ทุกข์มากมาย     หลายเหลือเฟือ
ฟ้าสวรรค          ธรณีมี                เทพรักษา
เหตุใดหนา       จึงดูดาย            ไม่ช่วยเหลือ
โลกเปี่ยมทุกข์ ทั่วทุกหน           จนหน่ายเบื่อ
ทุกเมื่อเชื่อ     วันหมองหม่น     ระทมทุกข์

” … นับแต่โบราณกาลมา วีรบุรุษผู้กล้าที่ผู้คนนั้นแซ่ซ้องสดุดี อนุชนรุ่นหลังรำลึกถึง ต้องเป็นบุคคลที่สร้างประโยชน์สุขให้แก่ประชาชน รักเมตตาแก่ราษฎร ผู้ที่ฆ่าคนจำนวนมากไม่แน่ว่าจะนับเป็นวีรบุรุษผู้กล ้า…”     ก๊วยเจ๋ง ยอดวีรบุรุษ (น. นพรัตน์ แปล)

ทำไมถึงตั้งชื่อเรื่องนี้ว่า มังกรหยก ทั้งๆ ที่ไม่มีอะไรเกี่ยวกับมังกรเลย

ก็ยังไม่มีผู้ใดทราบได้แต่เดากันต่างๆ นาๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ คุณจำลอง ได้ให้สัมภาษณ์ คุณเจนภพ ที่ถามว่าทำไมถึงมาแปลเริ่องมังกรหยก
“มังกรหยกเป็นนิยายจีนกำลังภายในเรื่องยิ่งใหญ่ที่สุดครับ และ เป็นเรื่องที่มีความยาวที่สุดด้วย มากกว่านิยายทั้งที่เขียนเองหรือแปลมาทุก ๆ เล่มในวงการหนังสือเมืองไทย มังกรหยก เป็นบทประพันธ์ของกิมย้ง เขาเป็นกรรมการแห่งสมาคมพุทธศาสนิกชนสัมพันธ์ในฮ่องกง มีอายุอ่อนกว่าผม แค่ 3 ปี เท่าที่ผมแปลเรื่องนี้ เพราะเห็นว่าคนคนนี้มีความรู้ในเรื่อง พุทธศาสนามาก และเรื่องมังกรหยกนี้ก็สอดแทรกปรัชญาทางพุทธศาสนาทั้งเล่ม คำพูดที่เราเขียนออกมานี่ ถ้าคนไม่เคยรู้เคยปฏิบัติทางพุทธมาก่อนจะทำไม่ได้ พูดไม่ได้ เรียนไม่ได้ และผมเองก็ไม่ชอบการลอกเอาคัมภีร์มาลงทั้งดุ้นด้วย ก็เพราะมังกรหยกนี่ล่ะครับ ทุกคนถึงกลัวผม ใครจะด่าหรือตั้งหน้าทำลายยังงัยผมก็ไม่ตาย ผมยังมีทีเด็ดอีกเยอะ มังกรหยก ภาค 4 ภาค 5 และ ภาคพิเศษ ก็มีอีก”

ท่าน ถาวร สิกโกศล (ใน สกัดจุดยุทธจักรมังกรหยก) ได้กล่าวถึงเรื่อง ชื่อ มังกรหยก ที่ ท่านจำลอง พิศนาคะ เป็นผู้ตั้งชื่อไว้ ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเนื้อเรื่อง แต่ฟังดูแล้วเข้าที เลยใช้กันเรื่อยมา
ที่น่าจะเดาใจท่านจำลอง ได้ว่าทำไม่ตั้งชื่อเรื่องนี้ว่ามังกรหยก คือจากคำพูดของท่าน
“มังกรหยกเป็นนิยายจีนกำลังภายในเรื่องยิ่งใหญ่ที่สุดครับ” คนจีน ถือว่า “มังกร” เป็นสัญญลักษณ์ของประเทศ บวกกับคำว่า “หยก” เรียกว่า ที่สุดกับที่สุดมารวมกัน เท่ากับเป็นการให้เกียรติสูงสุด

มังกรหยก ภาค 1 ข้อมูลเกี่ยวกับการตีพิมพ์ได้มาจาก เว็บของท่านมือปีศาจ
ผู้แต่ง กิมย้ง
ผู้แปล จำลอง พิศนาคะ
พิมพ์ครั้งที่ 1 สพ เพลินจิตต์ (ศิริอักษร) พิมพ์ปี พ.ศ. 2502 จำนวน 32 เล่มจบ (เล่มเล็ก)
พิมพ์ครั้งที่ 2 สพ มิตรสาส์น พิมพ์ปี พ.ศ. 2514 จำนวน 54 เล่มจบ (เล่มเล็ก) ปกแช็ง 7 เล่มจบ
พิมพ์ครั้งที่ 8 สพ บันดาลสาส์น พิมพ์ปี พ.ศ. 2517 จำนวน 8 เล่มจบ
พิมพ์ครั้งที่ 9 สพ บันดาลสาส์น พิมพ์ปี พ.ศ. จำนวน 10 เล่มจบ
พิมพ์ครั้งที่ 10 สพ สร้างสรรค์ พิมพ์ปี พ.ศ. 2537 จำนวน 8 เล่มจบ (พร้อมกล่อง)

สำนวนแปลของ จำลอง พิศนาค แปลจากต้นฉบับเดิม ก่อนการแก้ไขปรับปรุง ของ กิมย้ง ประมาณการว่า น่าจะแปลประมาณปี พ.ศ. 2501 – 2502 เพราะจัดพิมพ์ครั้งแรกโดย สำนักพิมพ์ศิริอักษร (สำนักพิมพ์เพลินจิตต์) เมื่อปี พ.ศ. 2501 – 2502 เป็นสำนวนแปลที่ทำให้คนไทย รู้จักกับ มังกรหยก เป็นครั้งแรก และเรื่องนี้ยังส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ที่เฟื่องฟูของนิยายกำลังภายในตามมา รวมทั้งเกิดผู้แปลนิยายกำลังภายในตามมาอีกมากมาย และอีกประการหนึ่ง นิยายเรื่องนี้ยังถือได้ว่า เป็นจุดกำเนิดของนิยายกำลังภายใน ด้วยเช่นกัน รวมถึง คำว่า กำลังภายใน ซึ่งได้ปรากฏในนิยายเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก สำนวนของจำลอง พิศนาคะนี้ ได้นำกลับมาพิมพ์ซ้ำหลายรอบ ซึ่งยังคงหาอ่านได้ในปัจจุบัน เท่าที่ทราบข้อมูล ปี พ.ศ. 2517 สำนักพิมพ์บันดาลสาส์น จัดพิมพ์เป็น 10 เล่มจบ และในปีต่อ พ.ศ. 2518 สำนักพิมพ์บันดาลสาส์น จัดพิมพ์ใหม่ ในรูป 8 เล่มจบ และในปี พ.ศ. 2537 สำนักพิมพ์สร้างสรรค์ – วิชาการ ได้จัดพิมพ์เป็น 8 เล่มจบ
ต่อมา ว. ณ เมืองลุง นำมาแปล เรียกชื่อภาคนี้ว่า มังกรจ้าวยุทธจักร สำนวนแปลของ ว. ณ เมืองลุง แปลจากฉบับปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ 1 ของ กิมย้ง โดยแปลครั้งแรกลงใน หนังสือพิมพ์รายวัน แนวหน้าแห่งยุคเดลินิวส์ ฉบับที่ 10452 ประจำวันศุกร์ ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 โดยใช้ชื่อเรื่องว่า มังกรจ้าวยุทธจักร ซึ่ง ว. ณ เมืองลุง ได้เขียนไว้ในคำนำหนังสือ ว่า ชื่อเรื่อง มังกรเจ้ายุทธจักร นี้ เปลว สีเงิน เป็นคนคิดชื่อนี้ให้ โดยลงติดต่อกันเรื่อยมาจนถึงฉบับที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 ได้มีการเปลี่ยนผู้แปลใหม่ คือ ศ. อักษรวัฒน์ และเปลี่ยนชื่อเรื่องใหม่เป็น มังกรยอดยุทธจักร ฉบับพิมพ์ล่าสุด สำนักพิมพ์ดอกหญ้า ปี พ.ศ. 2537
สำนวนที่สามเป็นของ น. นพรัตน์ แปล เรียก มังกรหยก ภาค 1 ก๊วยเจ๋งยอดวีรบุรุษ สำนวนแปลของ น. นพรัตน์ แปลจากฉบับปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ 2 ของ กิมย้ง พิมพ์รวมเล่ม และได้ลิขสิทธิ์ตลอด โดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ ซึ่งจัดพิมพ์ในปี พ.ศ. 2537 (8 เล่มจบ) และในปี พ.ศ. 2546 (4 เล่มจบ)
สำนวนที่ 4 โดย คนบ้านเพ ตั้งชื่อว่า จอมยุทธมังกรหยก ภาค 1 วีรชนพิชิตมาร แปลจากฉบับปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ 2 ของ กิมย้ง โดยแปลให้กับสำนักพิมพ์สุขภาพใจ (พ.ศ. 2540)
มีการบันทึกว่ามีอีกสำนวนแปลหนึ่ง แปลก่อน คุณจำลองเสียอีก แต่แปลไม่จบ สำนวนแปลครั้งแรกแปลจากต้นฉบับเดิม ก่อนการแก้ไขปรับปรุง ของ กิมย้ง ผู้ประพันธ์ใช้นามปากกาว่า ไผ่ผุ น่าจะแปลประมาณ พ.ศ. 2500 โดยแปลลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่จังหวัดพิษณุโลก โดยตั้งชื่อเรื่องใกล้เคียงกับภาษาจีน ว่า วีรบุรุษมือธนู ไม่มีข้อมูลเหมือนกันว่า แปลถึงตอนไหน

มังกรเจ้ายุทธจักร
ผู้แต่ง กิมย้ง
ผู้แปล ว. ณ เมืองลุง
พิมพ์ครั้งที่ 1 สพ ประพันธ์สาส์น พิมพ์ปี พ.ศ. จำนวน 50 เล่มจบ (เล่มเล็ก) และ ปกแข็ง 10 เล่มจบ
พิมพ์ครั้งที่ 2 สพ บรรณาคาร จำนวน 7 เล่มจบ
พิมพ์ครั้งที่ 3 สพ ดอกหญ้า พิมพ์ปี พ.ศ. 2537 จำนวน 4 เล่มจบ บรรจุกล่อง
พิมพ์ครั้งที่ 4 สพ สร้างสรรค์ พิมพ์ปี พ.ศ. 2553 จำนวน 4 เล่มจบ บรรจุกล่อง

ไตรภาค มังกรหยก ชุดที่ 1 ก๊วยเจ๋งยอดวีรบุรุษ
ผู้แต่ง กิมย้ง
ผู้แปล น. นพรัตน์
พิมพ์ครั้งที่ 1 สพ สยามอินเตอร์คอมิกส์ พิมพ์ปี พ.ศ. 2537 จำนวน 8 เล่มจบ
พิมพ์ครั้งที่ 2 สพ สยามอินเตอร์บุ๊ค พิมพ์ปี พ.ศ. 2546 จำนวน 4 เล่มจบ
ท่านกิมย้งได้แก้ไข ข้อขัดแย้ง ข้อบกพร่อง 3 ครั้ง ครั้งล่าสุด ทำการแก้ไขเมื่อปี 2544
ฉบับของท่านจำลองแปลมาจากฉบับแรกที่ยังไม่มีการแก้ไข
ฉบับของ ท่าน ว. แปลมาจากฉบับที่ท่านกิมย้งแก้ไขครั้งที่หนึ่ง
ฉบับของ ท่าน น. พิมพ์ครั้งที่ 1 แปลมาจากฉบับที่ท่านกิมย้งแก้ไขครั้งที่สอง
ฉบับของ ท่าน น. พิมพ์ครั้งที่ 2 อ้างว่าแปลมาจากฉบับที่ท่านกิมย้งแก้ไขครั้งที่สาม
มังกรหยก 1 เป็นเรื่องราวเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ้องที่เป็นพื้นหลังทางประวัติศาสตร์ของนิยาย เขียนถึง ก้วยเจ๋งและเอี้ยคัง ทายาทของสองพี่น้องร่วมสาบานชาวฮั่น ก้วยเซ่าเทียนและเอี้ยทิซิม ถูกเลี้ยงดูในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ใช่แผ่นดินฮั่น คนหนึ่งดำรงอยู่หลักคุณธรรมรักแผ่นดินเกิดแม้อยู่ต่างแดน แต่อีกคนกลับมักใหญ่ใฝ่สูงฝักใฝ่ศัตรู แม้อาศัยอาศัยอยู่ในแผ่นดินเกิด ราชวงศ์ซ้องกำลังทำสงครามกับราชวงศ์จิ้นของไต้กิม และต่อมาเจงกิสข่านบุกแผ่นดินจิ้น
ความโดดเด่นของเรื่องนี้ คือ การสร้างตัวละคร ซึ่งมีทั้งความสลักเสลา เกินจริง และ ความสมจริงผสมกัน ตัวละครเหล่านี้มีชีวิตชีวา น่าประทับใจ เช่น มารบูรพา พิษประจิม ราชันต์ทักษิน ยากจกอุดร เฒ่าทารก ก๊วยเจ๋ง อึ้งย้ง ฯลฯ ล้วนแล้วแต่มานั่งกลางใจ ประทับใจจนยากจะลืมเลือน

ตัวอย่างบทสนธนาของก๊วยเจ๋งกับเจงกิสช่าน
“ก๊วยเจ๋ง เราได้สร้างผืนแผ่นดินมองโกลให้ยิ่งใหญ่จะหาผู้ใดมาเ ปรียบเทียบเสมอเหมือนได้ นับตั้งแต่โบราณกาลมา ก็เห็นมีแต่เราเพียงผู้เดียว และนับตั้งแต่ผืนแผ่นดินมองโกลถือสถานที่นี้เป็นใจกลางแล้ว ก็จะมีอาณาเขตกว้างขวางยิ่งนัก แต่ละทิศสามารถที่จะเดินทางไปหนึ่งปีจึ่งสิ้นสุด อาณาเขตของแผ่นดินมองโกลเจ้าจงบอกให้เราฟังดูทีหรือว่า นับตั้งแต่โบราณมา ยังจะมีผู้ยิ่งใหญ่คนใดที่สามารถกระทำได้ดังนี้?”
ก๊วยเจ๋งนิ่งขรึมชั่วครู่ตอบว่า “ฝีมือในการรบของท่านข่านผู้ยิ่งใหญ่ เป็นที่เลื่องลือปรากฏทั่วทั้งแผ่นดิน จะหาผู้ใดมาเสมอเหมือนมิได้ แต่การที่ท่านข่านมีชื่อเสียงเป็นที่เกรงขามแก่คนทั้งปวง ก็มิทราบว่าบนผืนแผ่นดินได้สะสมโครงกระดูกสีขาวของคน เหล่านั้นกองสูงสักเพียงใด? และมิทราบว่าน้ำตาของเด็กน้อย และแม่ม่ายกับผู้เป็นมารดา ได้หลั่งไหลออกมาเป็นสายธารสักกี่มากน้อย”
“ท่านข่านผู้ยิ่งใหญ่ ท่านได้เลี้ยงดูและอบรมข้าพเจ้ามา มิหนำซ้ำได้บีบบังคับให้มารดาของข้าพเจ้าถึงแก่ความตายไป อันบุญคุณของท่านและความแค้นของข้าพเจ้าซึ่งเป็นส่วนตัว ข้าพเจ้ามิขอกล่าวขึ้นอีกเป็นอันขาด แต่ข้าพเจ้าใคร่จะขอถามอีกสักคำหนึ่งว่า อันธรรมดาคนเราเมื่อตายลงไปแล้ว ก็ถูกฝังอยู่ในแผ่นดิน ยังจะสิ้นเปลืองเนื้อที่สักเท่าใด”
เมื่อเจ็งกิสข่านได้ยินดังนั้นฟาดแส้ม้าออกไป ตวัดเป็นวงกลม บอกว่า “คงมีขนาดไม่มากมายไปกว่ารัศมีของแส้ที่เราได้เหวี่ยงออกไปนี้”
ก๊วยเจ๋งบอกว่า “ใช่แล้ว ถ้ากระนั้นท่านได้ฆ่าฟันผู้คนมาเป็นจำนวนมากมาย หยาดโลหิตของคนเหล่านั้นได้หลั่งไหลชโลมแผ่นดินกี่มา กน้อย จึ่งทำให้ท่านสามารถรุกรานเอาบ้านเล็กเมืองน้อยเข้าม าครอบครองเป็นจำนวนมากถึงเพียงนี้ ในที่สุดท่านยังได้ประโยชน์อันใดหรือ?”
เจ็งกิสข่านได้ยินดังนั้นก็เฉลย ก๊วยเจ๋งกล่าวต่อไปว่า “แต่โบราณมา บรรดาผู้กล้าหาญและยอดนักรบที่เป็นขุนศึกอันยิ่งใหญ่ ทำให้คนภายหลังพากันหวนรำลึกและเคารพนับถืออย่างยืนน าน ก็เพราะได้สร้างบุญคุณไว้ให้กับราษฎร เป็นผู้ให้ความรักและคุ้มครองแก่มวลราษฎรเหล่านั้นต่ างหาก ตามความเห็นของข้าพเจ้าเห็นว่า ผู้ที่ฆ่าคนอย่างมากมายมิใช่ว่าเป็นผู้กล้าหาญเสียที เดียวก็หาไม่”
เจ็งกิสข่านถามว่า “ชะรอยชั่วชีวิตของเรานี้ มิได้ประกอบกรรมทำความดีไว้บ้างทีเดียวหรือ”
ก๊วยเจ๋งตอบว่า “การกระทำความดีของท่านย่อมมีอยู่เป็นธรรมด และมากมายยิ่งนัก แต่การที่ท่านยกกองทัพไปรุกรานทางเหนือและทางใต้ ซากศพของผู้คนกองสูงดุจดั่งภูเขา ความดีและความชั่วย่อมจะทำให้มองเห็นว่าแตกต่างกันยากที่จะกล่าวได้”
จาก มังกรหยก ภาค 1 จำลอง พิศนาคะ แปล


 
หมายเหตุ ***ท่าน กิมย้ง ได้ทำการปรับปรุง นวนิยายของท่าน
เพื่อแก้จุดโหว่ เพื่อเติมเนื้อหา/ตัดทอน/เปลี่ยนแปลง บางส่วนให้เนื้อเรื่องรัดกุม
สอดคล้องเป็นอย่างยิ่ง (ซึ่งก็มี นักอ่านหลายท่านติติงว่า ไม่น่าแก้ไปแก้มาเลย
น่าจะเขียนเรื่องใหม่ไปเลยดีกว่า)
ส่วนที่ปรับปรุงมีดังต่อไปนี้










1. บ้วยทิวฮวงเคยเป็นคนรับใช้ (หลังจากกำพร้า ลุงที่ยากจนของเธอไม่สามารถเลี้ยงดูเธอไหว จึงขายเธอให้กับบ้านเศรษฐีสกุลเจียง แม้เธออายุแค่สิบสองขวบเธอจัดว่าเป็นเด็กสาวที่สวยคนหนึ่ง ในขณะที่เธอกำลังซักผ้า เศรษฐีเจียงเข้ามาหาและต้องการจะลวนลามที่หน้าอก
เธอผลักไสเขาออก ในมือของเธอมีสบู่แล้วฟองสบู่ไปติดกับเคราของเศรษฐีเจียงเป็นที่ขบขัน ฮูหยินเจียงมาเห็นเข้าใจผิดคิดว่าเธอพยายามยั่วยวนสามีนาง จึงดุด่าและทำโทษเธอ ถึงกับจะควักลูกตาเธอออก อาจารย์อึ้งเอี๊ยซือผ่านมาพบเลยสั่งสอนฮูหยินเจียง อีกทั้งยังให้ไถ่ตัวบ้วยทิวฮวงเป็นอิสระรับเธอเป็นลูกศิษย์คนที่สาม
2. ศิษย์เอกของอึ้งเอี๊ยซือคือเข็กเล้งฮวงมีอายุสามสิบและเป็นหม้าย มีบุตรสาวชื่อส่ากู ในฐานะที่เป็นศิษย์คนโต จึงได้รับหน้าที่สอนวิทยายุทธแศษย์น้องแทนอาจารย์
3. บ๊วยทิวฮวงเติบโตเป็นสาวแสนสวย อึ้งเอี๊ยซือ เข็กเล้งฮวง ตั้งเฮียนฮวง ต่างหวั่นไหวด้วยความงามของเธอ เข็กเล้งฮวยหักห้ามใจได้เนื่องจากสูญเสียภรรยา และไม่ต้องการจะมีความรักอีกต่อไป นอกจากนี้เขายังล่วงรู้จิตใจอาจารย์ตนเองที่แอบหลงรักนาง อึ้งเอี๊ยซือถึงกับหงุดหงิดและเศร้าเสียใจตนเองที่เป็นเช่นนี้ (มีบทกลอนที่แต่งโดยนักกวีสมัยซ้องชื่อ Ouyang Xiu ที่สื่อถึงความลุ่มหลงที่เขามีต่อนาง)
4. เมื่อเข็กเล้งฮวงรู้ว่าตั้งเฮียนฮวงลักลอบได้กับบ๊วยทิวฮวง ทั้งสองได้ต่อสู้กัน ตั้งเฮียนฮวงพ่ายแพ้ เข็กเล้งฮวงโกรธเพราะเขารู้สึกว่าทั้งสองทรยศอาจารย์ (บ๊วยทิวฮวงเคยสาบานว่าเธอจะอยู่เคียงข้างอาจารย์ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม) เมื่ออึ้งเอี๊ยซือล่วงรู้ว่าศิษย์ทั้งสองต่อสู้กัน เขาโกรธที่เข็กเล้งฮวงคาดคะเน จิตใจเขาออก และความรู้สึกของเขาที่มีต่อบ๊วยทิวฮวงเป็นที่เปิดเผย จึงรู้สึกอับอายขายหน้า และโยนความผิดที่เข็กเล้งฮวง ด้วยอารมณ์โกรธจึงหักขาลูกศิษย์คนโตและขับไล่ออกจากเกาะพร้อมกับส่ากู
นับแต่นั้นอึ้งเอี๊ยซือละเลยตั้งเฮียนฮวงกับบ๊วยทิวฮวง และไม่สอนวิชาแก่พวกเขาอีกเลย เขาออกจากเกาะดอกท้อไปท่องเที่ยวและกลับมาพร้อมแม่ของอึ้งย้ง ในวันฉลองเทศกาล อึ้งเอี๊ยซือดื่มเหล้าเมาแล้วพูดว่า
ใครบังอาจกล่าวว่าภูตบูรพาหลงรักลูกศิษย์ตนเอง ”
เจ้าโง่เข็กเล้งฮวง ตอนนี้ไปอยู่ที่ไหน ข้าให้อภัยเจ้าแล้ว ไปบอกเขาให้กลับมาได้ ตั้งเฮียนฮวงได้ยินเข้าจึงตัดสินใจหนีออกจากเกาะพร้อมบ๊วยทิวฮวง โดยแอบไปขโมยคัมภีร์ด้วย
5. จิวแป๊ะทง (Zhou Botong) หาที่ซ่อนคัมภีร์เก้าอิม (Jiuyin Zhenjing) ได้เจอกับอึ้งเอี๊ยซือกับภรรยา แล้วโดนหลอกเหมือนเวอร์ชันที่สอง จิวแป๊ะทงสังเกตุว่าอึ้งเอี๊ยะซือดูกระสับกระส่าย และเขาไม่ได้ฉีกคัมภีร์ของแท้ทิ้ง
6. เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตอนเจ็ดประหลาดกังหน่ำตามหาก๋วยเจ๋งกับนางลีปิงผู้เป็นแม่ กัวเต็งอักตาบอดแต่กำเนิด
7. บ๊วยทิวฮวงและตั้งเฮียนฮวงฝึกคัมภีร์ ตระกูลเจียงเป็นเหยื่อรายแรกของการฝึกฝนพลังชั่วร้ายนี้ พวกเขายังฝึกทักษะอื่นเช่น พลังเสื้อเกราะเหล็ก ระฆังทอง
8. หลังจากบ๊วยทิวฮวงและตั้งเฮียนฮวงออกจากเกาะไปแล้ว อึ้งเอี๊ยซือไม่สบอารมณ์ และโศกเศร้าคละกัน เมื่อศิษย์คนอื่นๆพยายามปลอบใจ แต่มิได้ระวังคำพูดทำให้เขาโกรธมาก จัดการหักขาและไล่ออกจากเกาะหมด
9. เล็กเซ็งฮวงต้องการจับตัวศิษย์พี่ทั้งสองคืนอาจารย์ จึงรวบรวมเหล่าผู้กล้ามากวรยุทธ์กระทำการ หนึ่งในนั้นมีพี่ชายของกัวเต็งอักที่ได้ชวนกัวเต็งอักมาร่วมขบวนการด้วย แต่เขาปฏิเสธเพราะอยู่ระหว่างตามรอยก๋วยเจ๋งกับแม่พี่ชายเขาโดนฆ่าตาย หลังจากนั้นอีกสองปีกัวเต็งอักได้เจอบ๊วยทิวฮวง และตั้งเฮียนฮวง และต้องการ แก้แค้นคืน
10. บ๊วยทิวฮวงและตั้งเฮียนฮวงสามารถหลบหนีจากการจับกุมของพรรคพวก เล็กเซ็งฮวง แต่ได้รับบาดเจ็บสาหัส อีกทั้งยังโดนกลุ่มเจ็ดนักพรตฉวนจินตามล่า
11. เปลี่ยนชื่อวิทยายุทธ์ใหม่ Luoying Shenjian Zhang มาเป็น Taohua Luoying Zhang
12. อ้างอิงถึงเฉียวฟงเจ้าสำนักพรรคกระยาจกในเรื่องแปดเทพอสูรมังกรฟ้า ว่าได้ดัดแปลงกระบวนท่าใหม่ให้มีพลังเพิ่มขึ้น เรียบง่ายมากขึ้น แต่เต็มไปด้วยพละกำลัง อึ้งย้งได้พูดกับสามผู้อาวุโสของสำนักพรรคกระยาจกและเล่าถึงเหตุการณ์ที่เฉียวฟงต่อสู้กับเหล่าจอมยุทธ์ร้อยกว่าคน ในเหตุการณ์ชุมชนหน้าวัดเส้าหลิน
13. พูดถึงวิทยายุทธ์และการใช้อาวุธลับในเรื่อง ได้แก่ Jiuyin Baigu claws, heart snapping palms and hundred serpent whip ว่าวิชาเหล่านี้ไม่ใช่ของอึ้งเซียง แต่เป็นวิชาที่ศัตรูของเขาลอบทำร้าย น้องชายกับน้องสาวของเขา เขาเลยทำตัวเป็นCSI และจดรายละเอียดลงในคัมภีร์ อีกทั้งยังปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
ดังนั้นที่บ๊วยทิวฮวงและตั้งเฮียนฮวงฝึกเป็นวิชาของศัตรูเขาไม่ใช่วิชาที่ อึ้งเซียงคิดค้นเอง เพราะการฝึกวิชาเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องฝึกกำลังภายใน(สายลัทธิเต๋า)
14. ก๋วยเจ๋งฝึกคัมภีร์เก้าอิมทั้งสองฉบับจากต้นฉบับ
15. ก๋วยเจ๋งกับอึ้งย้งปกป้อง Qing Zhou (เดาว่าเป็นชื่อเมือง) (ท่านกิมย้งเขียนไว้ว่าก๋วยเจ๋งกับอึ้งย้งปกป้องเมืองเซี่ยงเอี๊ยในภาคต่อไป)
ผู้บัญชาการทัพของเมืองนี้พ่ายแพ้ทันทีหลังจากที่ก๋วยเจ๋งและอึ้งย้ง ไปพบเจงกีสข่าน
16. อึ้งเอี๊ยซือเป็นผู้ตั้งชื่อให้เอียก้วย ก๋วยเจ๋งกับอึ้งย้งได้เชิญมกเนี่ยมชื้ออาศัยที่เกาะดอกท้อด้วยกัน แต่นางปฏิเสธเพราะรู้สึกโศกเศร้าที่เห็นคู่เขามีความสุข แต่เธอช้ำใจ ดังนั้นจึงตัดใจจากและสัญญาว่าจะส่งตัวเอี้ยก้วยมาให้ ทั้งสองสอนวิทยายุทธ์
17. ปู่ของอึ้งเอี๊ยซือเป็นขุนนางเก่าในราชวงศ์ซ้อง ระหว่างที่ท่านแม่ทัพงักฮุยโดนใส่ร้าย เขาเป็นผู้ร่างคำแก้ต่างให้ จนโดยไล่ออกจากราชสำนัก แต่เขายังคงเรียกร้องให้ประชาชนสู้ เพื่อความบริสุทธิ์ของแม่ทัพ ท้ายที่สุดโดยสั่งประหาร และขับไล่ทั้งครอบครัวไปสู่ยูนนาน อึ้งเอี๊ยซือก็เติบโตและเรียนหนังสือฝึกวิชาที่นั่น
เมื่อ โตเป็นหนุ่มเขามีความคิดเห็นแปลกแยกจากพ่อ และมักโต้เถียงเรื่องที่ความจงรักภักดีต่อฮ่องเต้ อีกทั้งไม่เข้าสอบสนามแข่งขันเป็นราชการ จนท้ายที่สุดโดนพ่อขับไล่ออกจากบ้าน เขาเริ่มออกท่องยุทธจักรและแต่งบทกลอนเป็นปฏิปักษ์กับทางราชการ ทางพระราชสำนักออกหมายจับแต่ไม่เป็นผล
(อึ้งเอี๊ยะซือเมื่อยังหนุ่มนั้นผิดใจกับพ่อ เลยออกจากบ้าน และ มาตั้งรกรากที่เกาะดอกท้อ ซึ่งต่อมา อึ้งย้งก็ งอน บิดาตน เรื่องที่ไปทำอาหารให้ จิ้วแป๊ะทง ก็หนีออกจากบ้านจนได้พบก๋วยเจ๋ง จากนั้นก็มีอีกคนตั้งข้อสังเกตว่าก๊วยพู้, ก๊วยเซียงก็หนีออกจากบ้านเหมือนกัน ซึ่งทำให้พิสูจน์ได้ว่าบ้านนี้นิสัยหนีออกจากบ้าน เป็นกรรมพันธุ์ของทั้งสาม เจนเนอเรชั่น )
18. มีรายละเอียดเกี่ยวกับอาจารย์ของราชันย์ทักษิณเพิ่มเติม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น