รายการอัพเดท

หนังสือดีน่าสะสม ของคนรักหนังสือ มีแล้วที่นี่ http://www.thaibook.net/

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

หนังสือที่แพงที่สุดในโลก


หนังสือที่มีราคาแพงที่สุดในโลก ( 10,270,000 $ )
เปิดประมูลที่สถาบันโซเธอร์บี (Sotheby) เมื่อวันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2553 ขายได้ราคาถึง 6.5 ล้านปอนด์ หรือ 10,270,000 ดอลลาร์
หนังสือหายาก Birds of America เปิดประมูลที่สถาบันโซเธอร์บี (Sotheby) เมื่อวันอังคาร (ที่ 8 ธันวาคม 2553) ขายได้ราคาถึง 6.5 ล้านปอนด์ หรือ 10,270,000 ดอลลาร์ ให้กับนักสะสมที่ไม่เผยนาม เป็นหนังสือราคาแพงที่สุดในโลก โดยเมื่อสิบปีก่อน หนังสืออีกเล่มที่มีสภาพสมบูรณ์เปิดประมูลขายได้ 8.8 ล้านดอลลาร์ เป็นสถิติในเวลานั้น
นี่เป็นหนังสือของ จอห์น เจมส์ ออดูบอง (John James Audubon) ผู้เป็นทั้งศิลปินและนักธรรมชาตินิยม ตีพิมพ์เมื่อปี 1827 โดยใช้แม่พิมพ์สีขาวดำ แล้ววาดสีด้วยมือ รวบรวมภาพนกขนาดเท่าของจริงถึง 435 ชนิด บนแผ่นกระดาษขนาด 2 ฟุตคูณ 3 ฟุต
ออดูบองซึ่งตายเมื่อปี 1851 ท่องไปในป่าทั่วอเมริกาพร้อมกับปืนไรเฟิล ผู้ช่วยหนึ่งคน และกระดาษวาดเขียน ยิงนกแล้วก็เอามาแขวนเป็นแบบวาด เขาหาช่างพิมพ์ในอเมริกาไม่ได้ ต้องลงเรือไปอังกฤษ เพื่อไปพิมพ์หนังสือที่ลอนดอนและเอดินเบิร์ก ใช้เวลาทั้งหมด 12 ปีกว่าจะพิมพ์และวาดสำเร็จ

ปัจจุบันมีหนังสือ Birds of America เหลืออยู่ในสภาพสมบูรณ์ 119 เล่ม โดย 108 เล่มอยู่ในพิพิธภัณฑ์และห้องสมุด หนังสือที่เอาออกมาขายเป็นของ ลอร์ดเฮสเกธ ซึ่งตายเมื่อปี 1955


โดยยังมีหนังสือ First Folio ของเช็คสเปียร์ ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี 1623 เพียง 750 เล่ม ปัจจุบันเหลือเพียง 219 เล่ม ในการประมูลครั้งนี้ขายได้ 1.3 ล้านปอนด์ หรือ 2.05 ล้านดอลลาร์


Birds of America แพงที่สุดในโลกสำหรับหนังสือที่ตีพิมพ์


แต่ยังไม่เท่าสมุดบันทึกด้วยลายมือของลีโอนาร์โด ดาวินชี ซึ่งมีอยู่เล่มเดียว 72 หน้า ขายได้ 31 ล้านดอลลาร์เมื่อปี 1994 โดยผู้ซื้อชื่อ บิล เกตส์
 หนังสือ Codex Leicester, Leonardo Da Vinci

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

20เรื่องสั้นรางวัลซีไรดต์รอบแรกปี 54

1. 1 CM โอสถี
2. 24 เรื่องสั้น ของฟ้า พูลวรลักษณ์
3.เราตกอยู่ในสมรภูมิรบอีกครั้ง เสาวรี
4.เรื่องของเรื่อง พิเชษฎ์ศักดิ์ โพธิ์พยัคฆ์
5. เวลาของชาติ กิติวัฒน์ ตันทะนันท์
6.เส้นผมบังจักรวาล เอื้อ อัญชลี
7.เหมือนว่าเมื่อวานนี้ เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์
8. แดดเช้าร้อนเกินกว่าจะนั่งจิบกาแฟ จเด็จ กำจรเดช
9.กระดูกของความลวง เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์
10. การเมืองเรื่องเซอร์เรียล จิรัฏฐ์ ประเสิรฐทรัพย์
11.การลุกไหม้ของไฟหินดำ ชัยกร หาญไฟฟ้า
12.ข้อความต่างด้าว บุญชิต ฟักมี
13.ความเงียบของไลลา จรรยา อำนาจพันธุ์พงศ์
14.ความมหัศจรรย์ครั้งยิ่งใหญ่และเรื่องราวอื่นๆ ศิริวร แก้วกาญจน์
15. นักประดิษฐ์ ทุกคนเป็นสิ่งประดิษฐ์ ภูฉาน พันฉาย
‎16.นิมิตติ์วิกาล อนุสรณ์ ติปปยานนท์
17.บันไดกระจก วัฒน์ ยวงแก้ว
18.ผมกับผมอีกคน (ข้ามให้พ้นหุบเหวแห่งความเกลียดชัง) จำลอง ฝั่งชลจิตร
19.พระราชาไม่มีวันตาย อุเทน พรมแดง
20.ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำตลอดชีวิต จักรพันธุ์ กังวาฬ

สำหรับ รายชื่อคณะกรรมการซีไรต์ 2554 มีดังนี้
กรรมการคัดเลือก
๑.   ผศ. นัทธนัย ประสานนาม
ภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
๒.   รศ. ประทีป เหมือนนิล
ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  
ม.ราชภัฏเทพสตรี
๓.   ดร. อารียา หุตินทะ
ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
๔.   นางนรีภพ จิระโพธิรัตน์ 
บรรณาธิการนิตยสารสกุลไทย
๕.   ดร.พิเชฐ  แสงทอง 
อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี 
๖.   นายโตมร  ศุขปรีชา 
บรรณาธิการนิตยสารจีเอ็ม 
๗.   อาจารย์ฐนธัช  กองทอง
อาจารย์ประจำสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร  คณะมนุษยศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 
กรรมการตัดสิน
๑.   รองศาสตราจารย์ ดร.สรณัฐ  ไตลังคะ
นายกสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย
๒.   นายเจน  สงสมพันธุ์ 
นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
๓.   ผศ.ดร. ธเนศ เวศร์ภาดา
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
๔.   รศ. ยุรฉัตร บุญสนิท
สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
๕.   ผศ.ดร.ธัญญา  สังขพันธานนท์  นักเขียนซีไรต์ นามปากกา "ไพฑูรย์ ธัญญา"
หัวหน้าภาควิชาภาควิชาภาษไทยและภาษาตะวันออก 
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
๖.   นายพรชัย  วิริยะประภานนท์ 
นักเขียน-นักวิจารณ์อิสระ  นามปากกา "นรา" 
๗.   ประธานคณะกรรมการคัดเลือก

ขอขอบคุณ ข่าวจาก http://www.komchadluek.net

www.Thaibook.net

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

การ์ตูนบันทึกรักเจ้าชายวิลเลียมกับเคท

 

การ์ตูนความรักของเจ้าชายวิลเลียมกับเคท มิดเดิลตัน

ความรักระหว่างเจ้าชายวิลเลียมและเคท มิดเดิลตันแห่งอังกฤษ ถูกถ่ายทอดลงเป็นหนังสือการ์ตูนแล้ว และกำหนดวางแผงเพียงสองสัปดาห์ก่อนวันอภิเษกสมรส
หนังสือการ์ตูนเล่มนี้มีชื่อว่า "Kate and William: A Very Public Love Affair" มีความยาวทั้งหมดประมาณ 60 หน้า  ซึ่งเนื้อหาในหนังสือการ์ตูนก็มีทั้งส่วนที่นำมาจากเรื่องที่เกิดขึ้นจริงและเรื่องราวที่แต่งขึ้น ส่วนสไตล์การดำเนินเรื่องก็เป็นแบบการ์ตูนโรแมนติกในฝันของสาวๆ นั่นคือการที่ผู้หญิงคนนึงได้พบกับคนดังแล้วก็ตกหลุมรักกัน ...
เพราะงั้นงานนี้คงไม่ค่อยถูกใจคอการ์ตูนอเมริกันฮีโร่แน่ๆ ถึงจะได้ แกรี่ เออร์สไกน์ และไมค์ คอลลินส์ นักวาดการ์ตูนจาก MARVEL COMICS มาวาดเส้นให้ก็เถอะ


หนังสือการ์ตูนเรื่อง "เคท แอนด์ วิลเลียม : อะ เวรี พับลิก เลิฟ สตอรี่" ความยาว 60 หน้านี้ได้อาศัยเนื้อหาจากไดอารีของเคท มิดเดิลตัน พระคู่หมั้นของเจ้าชายวิลเลียม ที่ได้บันทึกเรื่องราวความสัมพันธ์ของเธอและเจ้าชายวิลเลียม และได้สองนักวาดการ์ตูน แกรี่ เออร์สไกน์ และไมค์ คอลลินส์ จากบริษัทมาร์เวล คอมิกส์ วาดตัวการ์ตูนได้อย่างมีชีวิตชีวา โดยมีริช จอห์นสตัน ช่วยเขียนบทการ์ตูน
เรื่องราวของการ์ตูนแบ่งเป็นสองส่วน เริ่มจากเรื่องของเจ้าชายวิลเลียม รัชทายาทลำดับที่ 2 แห่งราชวงศ์อังกฤษ และส่วนที่สองเป็นเรื่องของเคท สาวสามัญชน โดยอาศัยเค้าโครงของการ์ตูนโรแมนติกที่นักเรียนสาวอังกฤษชื่นชอบ ซึ่งก็คือ หญิงสาว
ใฝ่ฝันที่จะได้พบคนดังและตกหลุมรักกัน
บางฉากในเรื่องมีทั้งที่ส่วนที่เป็นเรื่องจริงและเรื่องแต่งขึ้น มีฉากที่เจ้าชายวิลเลียมทรงอยู่ในบาร์พร้อมกับเพื่อนๆ และเคทรู้สึกไม่สบายใจที่พระองค์พูดคุยกับสาวๆในผับ นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่ทั้งคู่พยายามหนีปาปารัสซี่
หนังสือจะวางแผงจำหน่ายในวันที่ 12 เมษายนนี้ ก่อนที่พิธีเสกสรมจองทั้งคู่จะจัดขึ้นในวันที่ 29 เมษายน
ถ้าใครสนใจก็รอซื้อกันได้ในราคา $7.99 (ประมาณ 240 บาท) สำหรับรุ่นนักสะสม ส่วนรุ่นธรรมดาก็ราคา 120 บาท ซึ่งจะวางแผงจำหน่ายในวันที่ 12 เมษายน 2554 นี้ ก่อนที่พระราชพิธีอภิเษกจะมีขึ้นในวันที่ 29 เมษายน 2554





วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

แกะรอยโพสต์โมเดิร์นใน Kafka on the Shore ของ ฮารูกิ มูราคามิ


September 18, 2008
โดย นริศรา ศิริมงคล

“God only exists in people’s minds. Especially in Japan, God’s always been a flexible concept. Look at what happened after the war. Douglas MacArthur ordered the divine emperor to quit being God, and he did, making a speech saying that he was just an ordinary person. So after 1946 he wasn’t God anymore. That’s what Japanese gods are like—they can be tweaked and adjusted. Some American chomping on a cheap pipe gives the order and prestochange-o—God’s no longer God. A very postmodern kind of thing. If you think God’s there, He is. If you don’t, He isn’t…”

(Murakami, Haruki. 2005: 375)


นวนิยายขนาดยาวของฮารูกิ มูราคามิ (Haruki Murakami) เรื่อง Kafka on the Shore ถูกจัดอยู่ในประเภทแฟนตาซี (Fantasy) เพราะความที่มันมีส่วนประกอบของเรื่องเหนือจริงและเหนือธรรมชาติ ถ้าจะมองอย่างนั้นก็ไม่ผิด แต่เมื่อมองให้ลึก นวนิยายเรื่องนี้ซ่อนอะไรไว้มากกว่าแค่นวนิยายแฟนตาซี มันเป็นนวนิยายที่มีความเป็นโพสต์โมเดิร์นหรือหลังสมัยใหม่ (Postmodern)อยู่มากโขเลยทีเดียว ตัวมูราคามิเองก็มิได้ยอมรับว่าตัวเองเป็นนักเขียนหัวโพสต์โมเดิร์น1 บทความชิ้นนี้จึงเป็นความพยายามที่จะค้นหาหลักฐานมาพิสูจน์ว่านวนิยายเรื่องนี้มีลักษณะตรงกับวรรณกรรมโพสต์โมเดิร์นอย่างไร ทั้งนี้ไม่ได้เป็นการจับผิดนักเขียนแต่เป็นการศึกษาว่าโพสต์โมเดิร์นนั้นมีอิทธิพลต่อคนร่วมสมัยเราอย่างไร ถึงขนาดที่นักเขียนคนหนึ่งเขียนงานที่มีลักษณะตามวรรณกรรมโพสต์โมเดิร์นได้โดยที่เจ้าตัวก็ไม่รู้ตัว

ก่อนจะเข้าเรื่องความเป็นโพสต์โมเดิร์นในนวนิยายเรื่องนี้ จะขอเล่าเรื่องย่อๆของนวนิยายเรื่องนี้ให้ฟังกันก่อน อย่างน้อยก็คงจะพอช่วยให้เห็นภาพได้ นวนิยายเรื่อง Kafka on the Shore เป็นนวนิยายที่เล่าเรื่องสลับกันสองเรื่องของคนสองคนและผู้คนรอบๆตัวพวกเขา เรื่องนี้มีพระเอกสองคน คนหนึ่งเป็นเด็กหนุ่มอายุเพิ่งจะครบ 15 ปีและเป็นเด็กหนีออกจากบ้านในวันเกิดตัวเอง เขาเรียกตัวเองว่าคาฟกา ทามูระ (Kafka Tamura) ตามนักเขียนที่ชื่นชอบซึ่งก็คือ ฟรันซ์ คาฟกา เขามีความสัมพันธ์ไม่ดีนักกับพ่อ ส่วนแม่และพี่สาวก็ทิ้งไปตั้งแต่อายุ 4 ขวบ ทำให้เขามีปมด้อยเสมอมา เหตุผลที่คาฟกาหนีออกจากบ้านก็เพราะต้องการหนีคำสาปแช่งของพ่อ ที่ได้บอกไว้ว่าสักวันเขาจะฆ่าพ่อและหลับนอนกับแม่และพี่สาว คำทำนายนี้ทำให้เขาเดินทางหนีชะตากรรมเหมือนกับอีดิปุสแต่กลับต้องเข้าไปเจอกับเรื่องมากมาย เขาเดินทางไปที่เกาะชิโกกุซึ่งเงียบสงบ เขาได้พำนักอยู่ที่ห้องสมุดอนุสรณ์โคมุระ ที่นั่นเขาได้พบกับ โอชิมะ บรรณารักษ์สองเพศผู้รอบรู้และมิสซาเอกิ หญิงสาววัย 50 ที่มีความทรงจำแสนเศร้าทำให้เธอต้องจมอยู่ในห้วงอดีต การได้พบสองคนนี้เหมือนเป็นการที่เขาเดินเข้ามาติดกับดักของชะตากรรม

พระเอกอีกคนหนึ่งเป็นชายวัยปลดเกษียณชื่อ นาคาตะ เขามีความ “พิเศษ” ตรงที่เขาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้และมีคลังคำต่ำกว่าเด็กประถมปลาย ที่เป็นอย่างนี้เพราะอุบัติเหตุลึกลับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ความพิเศษอีกอย่างของนาคาตะคือเขาสื่อสารกับแมวได้ ดังนั้นเขาจึงมักถูกว่าจ้างให้ตามหาแมวที่หายไปของคนแถวบ้าน อยู่มาวันหนึ่งเขาได้รับการจ้างให้ไปตามหาแมวตัวหนึ่ง ซึ่งการตามหาในครั้งนี้ดึงเขาเข้าไปพัวพันกับคดีฆาตรกรรม Johnnie Walker หลังจากนั้นนาคาตะสูญเสียความสามารถในการสื่อสารกับแมว เขาจึงออกเดินทางไปทำอะไรสักอย่างซึ่งเขาก็ไม่รู้ว่าคืออะไร รู้แต่เพียงว่าตอนนี้ควรทำอะไร ขั้นตอนต่อจากนั้นเขามิอาจรู้ได้ ได้แต่รอให้ชะตากรรมนำพา

เรื่องของสองคนนี้ถูกเล่าสลับบทกันในแนวขนาน โดยที่เรื่องของคาฟกาจะอยู่ในบทเลขคี่ ส่วนนาคาตะอยู่ในบทเลขคู่ แรกๆอาจจะดูเหมือนเป็นสองเรื่องที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย แต่ในตอนกลางของเรื่องมีเหตุการณ์ที่ทำให้ทั้งสองเรื่องนี้มาบรรจบกันและนำไปสู่บทสรุปที่ดูเหมือนจะไม่ค่อยจะ “สรุป” อะไรให้ผู้อ่านนักตามประสาโพสต์โมเดิร์น



ผู้เขียนนั้นสำคัญไฉน

แม้จะมีความคิดเรื่องของ “อวสานของผู้แต่ง” โดยโรล็องต์ บาร์ตส์ (Roland Barthes) 2ประดับวรรณกรรมโพสต์โมเดิร์นเพื่อให้ผู้อ่านสามารถตีความหนังสือแต่ละเล่มที่อ่านตามแต่ใจอยากให้เป็น แต่การอ่านหนังสือของมูราคามิโดยที่ไม่รู้จักตัวตนของมูราคามิถือได้ว่าขาดทุน ผู้อ่านมากมายมีความรู้สึกอยากรู้จักมูราคามิให้มากเพื่อที่จะเข้าใจสิ่งที่เขาเขียนแต่สิ่งที่เขาเขียนนั่นแหล่ะคือตัวตนของเขา แม้ว่าเจ้าตัวจะปฏิเสธเสียงแข็งเลยก็เถอะ มูราคามิเป็นคลื่นลูกใหม่แห่งวงการวรรณกรรมญี่ปุ่นและยังเป็นนักเขียนที่เป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วโลก แต่ตัวเขาต้องต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคภายในวงการวรรณกรรมของญี่ปุ่นที่จงเกลียดจงชังเขา โดยเฉพาะนักเขียนรางวัลโนเบลอย่างเคนซาบุโร่ โอเอะ (Kenzaburo Oe) ที่กล่าวโจมตีงานของมูราคามิในช่วงที่เริ่มมีชื่อเสียงในญี่ปุ่นว่าเป็นเพียง “ภาพจำลองอนาคตญี่ปุ่นที่สะเปะสะปะไร้ทิศทาง” และ “ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในการเรียกร้องความสนใจจากปัญญาชน” ทั้งนี้ก็เพราะนวนิยายแทบทุกเรื่องของมูราคามิมีกลิ่นอายของตะวันตกคละคลุ้งอยู่ตลอดเรื่อง ถ้าไม่ใช่เพราะชื่อตัวะครหรือสถานที่ที่เป็นญี่ปุ่นแล้ว คนอ่านอาจจะคิดว่าเรื่องเหล่านั้นเกิดขึ้นสักที่ไหนสักแห่งในอเมริกา หรือทวีปยุโรป แต่ตรงนี้เองที่ทำให้มูราคามิเป็นที่รังเกียจของโอเอะ เพราะโอเอะวิจารณ์ว่ามันเป็นความลุ่มหลงในอเมริกาและเปรียบเทียบว่ามันเป็นเหมือน “เนยที่ส่งกลิ่นเหม็นเน่าคลุ้งชวนอดสู”

ตลอดเวลาในอาชีพการเขียนของเขา มูราคามิพยายามเขียนงานที่จะมีส่วนช่วยให้ญี่ปุ่นได้ฝ่าฟันความแปลกแยกออกมาพูดคุยกับโลกภายนอกได้ ตัวมูราคามิเองนั้นก็มีความคิดที่มีส่วนคล้ายกับแนวคิดหลายๆอย่างของโพสต์โมเดิร์น ตัวอย่างเช่นการที่เขาวิจารณ์สังคมญี่ปุ่นว่าเป็นสังคมที่แปลกแยกออกจากโลกภายนอกและต้องการรื้อโครงสร้างเดิมของการเขียนวรรณกรรมญี่ปุ่น ในขณะที่ตัวมูราคามิชื่นชมวรรณกรรมจากอเมริกา นักเขียนญี่ปุ่นหลายคนมีความเป็นปรปักษ์ต่ออเมริกา หลายคนมีความทรงจำเลวร้ายต่อเพราะเหตุการณ์เข้าครอบครองญี่ปุ่นช่วงสั้นๆของอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มูราคามิจึงเป็นนักเขียนคนแรกที่ไม่ได้รู้สึกติดลบต่ออเมริกา อาจจะเป็นเพราะว่าเขาไม่ได้มีอคติต่ออเมริกาและเขาเติบโตมากับการอ่านหนังสือของนักเขียนชาวอเมริกันทำให้เขาได้ก้าวผ่านกรอบแห่งความแปลกแยกที่ครอบคลุมญี่ปุ่นไว้ได้



จากญี่ปุ่นสู่โลกกว้างในแบบโพสต์โมเดิร์น

เนื่องจากได้กล่าวไปแล้วว่าทัศนคติของมูราคามิที่มีต่อสังคมญี่ปุ่นนั้นเหมือนทัศนคติของนักคิดทฤษฎีโครงสร้างที่มีต่อสังคมสมัยใหม่ (Modern) ซึ่งก่อให้เกิดความพยายามรื้อถอนระบบระเบียบแบบเก่า เขาคิดว่าคนญี่ปุ่นมีความภาคภูมิใจผิดๆเกี่ยวกับชาติตัวเอง เช่นความภูมิใจเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นว่าเป็นภาษาที่พิเศษและมีบางจุดที่เหนือกว่าภาษาอื่น ซึ่งตรงนี้เขาไม่เห็นด้วย เพราะมูราคามิคิดว่าไม่มีภาษาไหนที่เหนือกว่าภาษาอื่นๆเลย นอกจากนี้เขายังเห็นว่าความสามัคคิและชาตินิยมของญี่ปุ่นนั้นรุนแรงเกินไป ความคิดความเชื่อเรื่องนี้ที่ทำให้ผู้คนหลงคิดว่าชาติตัวเองนั้นดีเหนือชาติอื่นๆ ในส่วนนี้มีความเกี่ยวข้องกับโพสต์โมเดิร์นเป็นอย่างมาก เพราะปรัชญาโพสต์โมเดิร์นมีความเกี่ยวข้องกับปรัชญาของภาษาอย่างแยกกันไม่ออก ความคิดพื้นฐานของพวกโพสต์โมเดิร์นที่ขัดแย้งกับพวกโมเดิร์นก็คือเรื่องภาษานี่แหล่ะ พวกโพสต์โมเดิร์นเชื่อว่าการรู้แจ้งของพวกโมเดิร์นนั้นเป็นของปลอมและเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เพราะมนุษย์เราติดอยู่ในคุกของภาษา จึงไม่สามารเข้าสู่ความจริงหรือการรู้แจ้งได้ ทุกๆอย่างเกิดขึ้นเพราะภาษา ชื่อเรียกของทุกอย่างก็ถูกคิดขึ้นผ่านภาษา หรือแม้แต่ในพระคัมภีร์ไบเบิ้ลพระเจ้าก็สร้างสรรพสิ่งบนโลกจากพระวาจา นักมานุษยวิทยาเชื่อว่าบทบาทหน้าที่ของพระเจ้าที่ลดน้อยถอยลงไปในสมัยนี้นั้นเป็นเพราะอิทธิพลของโพสต์โมเดิร์นที่ปฏิเสธศูนย์กลางและความเชื่อเก่าๆที่คุยโม้โอ้อวดว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดและจริงที่สุด

มูราคามิเชื่อว่าสิ่งที่ทำให้ผลงานของเขาเข้าสู่จิตใจของผู้อ่านได้ก็เพราะความเป็นสากลหรืออิทธิพลของวัฒนธรรมโลกที่ผู้อ่านพบเจอในหนังสือของเขา เพราะนวนิยายของมูราคามิได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมจากตะวันตกมาก โดยเฉพาะอเมริกา ตัวละครและเรื่องของเขาจึงมีความเป็นญี่ปุ่นโดยขนบอยู่น้อย แต่กลับมีความเป็นญี่ปุ่นแบบปัจจุบันมาก เพราะผู้คนมากมายในญี่ปุ่นทุกวันนี้มีความรู้สึกว่าพวกเขาถูกกีดกันออกจากโลกภายนอก เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วมูราคามิจึงถูกเหล่านักเขียนหัวอนุรักษ์นิยมกีดกัน ทำให้เขาตัดสินใจจากบ้านเกิดเมืองนอนไปอยู่อเมริกา เขาก้าวออกจากญี่ปุ่นเพื่อที่จะมองญี่ปุ่นอย่างคนนอกและสามารถเขียนเรื่องของญี่ปุ่นได้เด่นชัดขึ้น เป็นวิธีการมองญี่ปุ่นที่เหมือนกับโพสต์โมเดิร์นมองโลก ที่โพสต์โมเดิร์นปฏิเสธกรอบความคิดเก่าๆ ออกมานอกกรอบเพื่อมองสังคมได้อย่างชัดเจนขึ้น ทำให้สามารถวิพากษ์ได้อย่างชัดเจนขึ้นด้วย มูราคามิมีความคิดว่าคนญี่ปุ่นมีความภาคภูมิใจในประเทศตัวเองแบบผิดๆ แม้พวกเขาจะประสบความสำเร็จด้านวัตถุไปทั่วโลก แต่พวกเขาไม่เคยสื่อสารกับโลกในเรื่องจิตใจและวัฒนธรรมเลย มูราคามิจึงพยายามที่จะทำโลกได้รู้จักญี่ปุ่นและญี่ปุ่นได้รู้จักโลกมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม คำวิจารณ์ในทางลบของโอเอะก็มิได้ทำให้ความนิยมในตัวมูราคามิน้อยลงเลย ตรงกันข้ามยิ่งนานวันที่เขาผลิตผลงานใหม่ๆออกมา ยิ่งตอกย้ำปรากฎการณ์มูราคามิให้เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างขึ้นไปอีก นักอ่านที่ชื่นชอบผลงานของมูราคามิมีตั้งแต่วัยรุ่นยันแก่ วัยรุ่นพบเจอตัวเองในตัวละครของมูราคามิเพราะความต้องการที่จะเป็นตัวของตัวเองแต่กลับต้องทำให้ตัวเองโดดเดี่ยว ส่วนคนที่พ้นวัยรุ่นไปแล้วค้นพบอดีตที่ตนโหยหาเหมือนตัวละครที่เป็นดัง “ฮิปปี้หลงยุคในโลกทุนนิยม” เพราะยุคสมัยแห่งความฝันอย่างปี 60 ได้ผ่านพ้นไปและถูกแทนที่ด้วยยุคสมัยที่ตามมาซึ่งเต็มไปด้วยเหตุผล ระบบและระเบียบแต่กลับขาดจิตวิญญาณและเต็มไปด้วยความสับสน ตัวละครของมูราคามิฟังเพลงของ The Beatles, The Beach Boys, The Rolling Stones และอื่นๆที่เป็นดังสัญลักษณ์แห่งยุคสมัยของความรัก สงคราม การโหยหาสันติภาพและการต่อสู้ประท้วงเพื่อให้ได้มาซึ่งอิสรภาพ คนหนุ่มสาวมักจะลุ่มหลงในวัฒนธรรมของเหล่าบุปผาชนที่สิ้นสุดไปแล้วหลายทศวรรษ ส่วนพวกที่มีอายุหน่อยก็รู้สึกโหยหาอดีตที่อะไรหลายๆอย่างก็สามารถเข้าใจง่ายกว่าสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน อาการแบบนี้เรียกว่า Nostalgia ซึ่งเป็นอาการอย่างหนึ่งของโพสต์โมเดิร์น ตรงนี้อยากให้ทำความเข้าใจก่อนว่าแม้พวกโพสต์โมเดิร์นจะโหยหาอดีตแต่พวกเขาปฏิเสธประวัติศาสตร์ การที่โหยหาอดีตแสดงให้เห็นถึงความไม่มั่นคงทางอัตลักษณ์ ความแปลกแยกของตัวตนและบุคลิกภาพ (ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปสู่ทฤษฎีโพสต์โมเดิร์นอีกอันหนึ่งที่ชื่อว่า “การตายของพระเอก”) และอดีตนั้นถูกจับมาไว้ในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นการทำลายประวัติศาสตร์อีกด้วย

ใน Kafka on the Shore ไม่สิ้นกลิ่นอายตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นดนตรี (ทั้งร็อคและคลาสสิก) ศิลปะวรณคดีและปรัชญา การอ้างอิงถึงวัฒนธรรมตะวันตกเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางสำหรับตัวละครด้วยกันเอง และสำหรับตัวละครกับผู้อ่านเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในฐานะที่เป็นมนุษย์ที่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมที่ไร้พรมแดนแม้จะอยู่กันคนละประเทศ



ลักษณะของวรรณกรรมโพสต์โมเดิร์นที่ปรากฏใน Kafka on the Shore

ลักษณะของวรรณกรรมแบบโพสต์โมเดิร์นที่ปรากฏให้เห็นใน Kafka on the Shore มีมากมายและจะถูกเสนอดังต่อไปนี้

ประการแรก สิ่งที่เราจะสังเกตเห็นได้ง่ายๆเลยคือเนื้อหา ถ้าจะจัดประเภทเนื้อหาให้เรื่องนี้ก็คงได้หลายประเภทเลยทีเดียว ตัวอย่างเช่น แฟนตาซี สืบสวนสอบสวน สยองขวัญ ผจญภัย โศกนาฏกรรม ความรัก ความเศร้าและปรัชญา ลักษณะการเขียนแบบนี้เรียกว่า “Pastiche” ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งในการเขียนวรรณกรรมโพสต์โมเดิร์นที่เป็นที่นิยมกัน Pastiche เป็นการปะติดปะต่อของเก่าเพื่อให้เกิดของใหม่ เพราะล่วงเลยมาถึงสมัยนี้ ยากนักที่จะหาความแปลกใหม่ได้ในวรรณกรรม จึงมีการนำหลายๆสไตล์มาผสมกัน นอกจากการแบ่งประเภทของเนื้อหาแล้ว ยังมีการหยิบยืมตัวบทอื่นๆมาดัดแปลงใช้ เช่น โศกนาฏกรรมของอีดิปุส ตำนานของฮิคารุ เก็นจิ ตำนานแห่งแสงจันทร์และสายฝน และ The Miner3 การหยิบยืมตัวบทอื่นๆมาดัดแปลงใช้เรียกว่า Intertextuality หรือสหบท นอกจากการหยิบยืมตัวบทอื่นๆมาใช้ในการดำเนินเรื่องแล้ว ยังมีการกล่าวถึงตัวบทอื่นๆเพื่อให้ผู้อ่านที่อาจมีความคุ้นเคยกับตัวบทนั้นๆได้สร้างความเชื่อมโยงระหว่างเหตุการณ์ในหนังสือกับตัวบทนั้นๆ ตัวอย่างเช่น ตอนที่โอชิมะบอกกับคาฟกาว่าไม่ใช่ทุกคนที่อยากมีอิสระ แม้ว่าจะไม่มีการกล่าวถึงแต่ผู้ที่รู้จักดอสตเยฟสกี้ต้องรู้สึกว่ามันคล้ายๆความคิดของดอสโตเยฟสกี้ที่ถูกเสนอในตอนหนึ่งของนิยายคลาสสิกเรื่องพี่น้องคารามาซอฟ ซึ่งเป็นบทที่โด่งดังที่สุดในเรื่องนั้น หรือการที่ตัวละครอย่างคาฟกามีชีวิตที่คล้ายๆกับฟรันซ์ คาฟกาตัวจริงตรงที่ทั้งสองต้องใช้ชีวิตใต้เงาของผู้เป็นพ่อ การที่มิสซาเอกิขอให้นาคาตะเผาบันทึกความทรงจำที่เธอเขียนตลอดกว่าสามสิบปีที่ผ่านมาทิ้งเหมือนกับตอนที่ฟรันซ์ คาฟกาขอร้องให้เพื่อนสนิทช่วยเผางานเขียนของเขาทิ้ง และเนื้อเรื่องของ The Miner นิยายของนัทสึเมะ โซเซกิ ที่เป็นหัวข้อการสนทนาระหว่างโอชิมะและคาฟก้าในด้านวิธีการเล่าเรื่องที่ไม่มีเอกภาพและตอนจบไม่คลี่คลาย ซึ่งเป็นเรื่องเดียวของนักประพันธ์ผู้นี้ที่ตอนจบไม่คลายปม และตัวเอกก็เหมือนกับคาฟกามาก (แต่เป็นคาฟกามากกว่า ที่ไปเหมือนกับพระเอก The Miner) เมื่อเราอ่านจนจบจึงจะเข้าใจว่าชะตาของพระเอกทั้งสองเรื่องนี้เหมือนกันแท้ๆ เหตุการณ์หลายๆเหตุการณ์ใน Kafka on the Shore ถูกยืมมาจากเรื่องอื่นๆ และหลายเหตุการณ์ถูกยืมมาจากเรื่องจริงเพื่อใช้ในการดำเนินเรื่อง เราจะเห็นได้ว่านวนิยายเรื่องนี้เป็นการปะติดปะต่อกันของหลายๆอย่างมากมายและได้ทำให้เกิดความแปลกใหม่



ลักษณะอีกอย่างที่น่าสังเกตคือการดำเนินเรื่อง นวนิยายเรื่องนี้มิได้ดำเนินเรื่องตามแบบดั้งเดิมหรือ Freytag’s Triangle นวนิยายเรื่องนี้ไม่มีเอกภาพ มันไม่มีตอนต้น ตอนกลางและตอนจบที่สมบูรณ์ กล่าวคือนวนิยายเรื่องนี้มีปมปัญหาขัดแย้ง(หลายปม) ซึ่งจะนำไปสู่จุดไคล์แมกซ์ (ที่ไม่ได้มีแค่จุดเดียว) แล้วนำไปสู่ตอนจบของหนังสือ แต่ไม่ใช่ตอนจบของเรื่อง มีลักษณะเป็น Fragmentation หรือเป็นการแตกแยกออกเป็นชิ้นส่วน ลักษณะที่ไม่มีเอกภาพของตัวบทสอดคล้องกับการปฏิเสธ Grand Narrative ของการเขียนวรรณกรรมที่ว่าวรรณกรรมที่ดีชิ้นหนึ่งต้องมีเอกภาพและเป็นไปตามโครงสร้าง Freytag’s Triangle และเรื่องใดก็ตามที่ไม่ดำเนินไปตามนั้นถือเป็นข้อบกพร่องของการเขียน การขาดเอกภาพของ Kafka on the Shore ไม่ได้ลดทอนความสนุกลงไปเลย แต่กลับสร้างความลึกลับตื่นเต้นในนวนิยายเรื่องนี้อีกด้วย

อีกลักษณะสำคัญในความเป็นโพสต์โมเดิร์นของ Kafka on the Shore คือความเป็น Magical Realism หรือสัจนิยมมหัศจรรย์ สัจนิยมมหัศจรรย์เป็นรูปแบบการเขียนวรรณกรรมที่เป็นที่นิยมในวรรณกรรมโพสต์โมเดิร์น ในเรื่องนี้มีความเป็นสัจนิยมมหัศจรรย์หลายเหตุการณ์ อย่างเช่น การที่มีฝนปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรลและปลิงตกลงมาจากท้องฟ้าเหมือนฝนธรรมดา การที่ตัวตนไร้จิตที่แปลงกายมาอยู่ในรูปของผู้การแซนเดอร์สแห่ง KFC การที่จิตวิญญาณวัยสิบห้าของตัวละครที่อายุย่างห้าสิบตัวที่ชื่อ มิสซาเอกิออกมาเดินเพ่นพ่านอยู่บ่อยๆราวกับว่าเป็นคนธรรมดา หรือการที่ทหารญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่สองหายไประหว่างการซ้อมรบและป่านนี้ก็ยังคงอยู่ในป่าเพื่อเฝ้าประตูเชื่อมสองโลก แถมยังไม่แก่ลงเลยสักนิด วรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์มักเสนอปัญหาของคนชายขอบหรือความเป็นอื่นที่แตกต่างจากสังคม และเสียดสีสังคมไปด้วย นอกจากนั้นความกำกวมก็เป็นอีกหนึ่งลักษณะสำคัญของวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์ สัจนิยมมหัศจรรย์นั้นเป็นรูปแบบการเขียนที่นิยมมากในสมัยนี้ ลักษณะหลายๆอย่างที่เป็นตัวบ่งชี้ถึงวรรณกรรมแบบสัจนิยมมหัศจรรย์ ก็เป็นลักษณะที่บ่งชี้ถึงความเป็นวรรณกรรมแบบโพสต์โมเดิร์นด้วย กล่าวคือวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์เป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรมโพสต์โมเดิร์น ต่างกันตรงที่จะเน้นเรื่องของสิ่งที่ดูเหมือนเหนือธรรมชาติแต่ถูกทำให้เป็นเรื่องธรรมดา
ในด้านตัวละคร Kafka on the Shore นำเสนอตัวละครที่เป็นคนชายขอบอย่างนาคาตะและโอชิมะ ตรงนี้มูราคามิให้สัมภาษณ์ว่าเขาสนใจคนที่ถูกมองว่าเป็น “คนนอก” จากสังคมอยู่เสมอและยังบอกอีกด้วยว่าแทบจะทุกตัวละครใน Kafka on the Shore เป็นคนนอกไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง นาคาตะที่อ่านหนังสือไม่ออก เขียนก็ไม่ได้ถูกคนมองว่าเป็นคนชายขอบ ไม่ว่าเวลาบอกกับใครว่าอ่านหนังสือไม่ออก ผู้คนจะแสดงอาการประหลาดใจแบบสุดๆ พ่อแม่พี่น้องก็เลิกสนใจนาคาตะตั้งแต่ที่รู้ว่าเขามีปัญหาเรื่องนี้ นาคาตะไม่ถึงขั้นกับเป็นที่รังเกียจของสังคม เพียงแต่ไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วยเพราะเมื่อรู้ว่าเขามีปัญหาทางสมองก็ถูกตั้งแง่และเมินเฉย เรื่องนี้แสดงให้เราเห็นว่าคนแบบนาคาตะนั้นน่าคบกว่าคนฉลาดเจ้าเล่ห์เป็นไหนๆ เพราะในเรื่องเราจะเห็นว่าผู้คนที่ได้บังเอิญพบนาคาตะและมีโอกาสได้พูดคุยกับเขา ต่างก็รู้สึกชื่นชมในตัวผู้เฒ่าคนนี้ว่าเป็นคนน่ารักน่าคบ ถึงขนาดว่าคนขับรถบรรทุกอย่างโฮชิโนะถึงกับยอมหนีงานและสาบานจะติดตามนาคาตะไปชั่วชีวิต (แม้จะรู้ว่าชีวิตของนาคาตะไม่ค่อยจะมีอนาคตนัก) ตัวละครอีกตัวอย่างโอชิมะที่มีความเป็นโพสต์โมเดิร์นแบบสุดๆ เพราะเขา(หรือเธอ)เป็นคนสองเพศ หญิงก็ไม่ใช่ ชายก็ไม่เชิงเพราะเขามีอวัยวะเพศหญิง แต่ไม่มีประจำเดือนและไม่มีหน้าอก ส่วนรสนิยมทางเพศนั้นโอชิมะเป็น“เกย์” (แบบชายรักชาย) เพราะเสพสังวาสทางทวารหนัก โพสต์โมเดิร์นเห็นว่าเพศสภาพนั้นเป็นวาทกรรมอย่างหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นโดยสังคม ความเป็นชาย หญิงหรือเกย์นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่ทางชีวภาพอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม จะเห็นได้จากการที่เด็กทารกเกิดมามีอวัยวะเพศหญิง แต่ถ้าถูกเลี้ยงแบบเป็นเด็กชาย ก็จะโตมาเป็นชาย โอชิมะเองนั้นแม้ว่าจะมีอวัยวะเพศหญิง แต่ก็เลือกเป็นชายเพราะใจอยากจะเป็น แต่เขาก็ต้องพบเจอกับปัญหาการรังเกียจกีดกันหายอย่างจากคนในสังคมที่เห็นว่าเขาเป็นตัวประหลาด

การเขียนแบบเสียดสีเพื่อโจมตีสังคมโลกสมัยนี้ โดยเฉพาะสังคมญี่ปุ่นว่าเป็นสังคมแบบวัตถุนิยมและบริโภคนิยม เพราะมีตัวละครอย่าง Johnnie Walker และ Colonel Sanders ไปโลดแล่นอยู่ในเรื่อง แถมยังได้บทเด่นเสียด้วย Johnnie Walker รับบทเป็นชายโรคจิตที่จับตัวแมวมาตัดหัวเพื่อสร้างขลุ่ยวิเศษ ส่วน Colonel Sanders รับบทเป็นแมงดาเชียร์แขกให้โสเภณีสาวที่เรียนเอกปรัชญาแทนที่จะไปยืนขายไก่ในย่านการค้า ตัว Johnnie Walker เราไม่อาจทราบได้แน่ชัดว่ามันมีความหมายอะไรซ่อนอยู่ในการที่มันถูกใช้เป็นตัวละคร เพราะในนวนิยายไม่ได้บอกอะไรไว้มากเกี่ยวกับตัวละครตัวนี้ แต่ที่แน่ๆก็คือมันเป็นการเสียดสีบริโภคนิยม ที่ไม่ว่าสินค้าอะไรก็ตาม แบรนด์สำคัญที่สุด สำหรับตัว Colonel Sanders นั้นเขาได้บอกกับโฮชิโนะเองว่าตัวเขาคือตัวตนไร้จิตที่เลือกจะเป็นรูปทรงอะไรก็ได้ เพียงแต่ภารกิจนี้เขาเลือกที่จะเป็นคนดังในฐานะนายทุน เคยคิดจะใช้มิกกี้ เม้าส์แต่ดิสนี่ย์ค่อนข้างจู้จี้เรื่องลิขสิทธิ์ ดูกันตามจริงแล้วในตัวเมืองของแต่ละจังหวัดของญี่ปุ่นจะสามารถมองเห็นผู้การหนวดขาวได้แทบจะทุกมุม นอกจากการโจมตีสังคมญี่ปุ่น ประเด็นนี้ยังเหมือนเป็นการโจมตีสังคมโลกอีกด้วย เพราะการบริโภคในสมัยโพสต์โมเดิร์นไม่ใช่แค่การบริโภคแค่วัตถุเท่านั้น แต่เป็นการบริโภคสัญญะอีกด้วย เพราะอย่าง KFC บางคนไม่ได้กินแค่อิ่ม แต่เป็นการกินเพื่อสื่อความหมายบางอย่างเช่น สื่อความเป็นตัวตน นี่จึงเป็นการเสียดสีที่ก็สอดแทรกมุขตลกเพื่อไม่ให้ซีเรียสเกินไป

ความกำกวมถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งในนวนิยายสักเรื่องถ้าเรามองแบบโพสต์โมเดิร์น Kafka on the Shore มีความกำกวมในตัวบทอย่างมาก แม้ในตอนจบก็ทิ้งปริศนาที่ไม่ได้แก้ไว้มากมาย แล้วจบแบบไม่มีบทสรุปที่แน่นอนและเป็นการจบแบบเปิด การจะตีความเรื่องอย่างไรขึ้นอยู่กับผู้อ่าน สำหรับโพสต์โมเดิร์นทุกอย่างคืนพื้นที่ว่างให้เราใส่ความคิดลงไป ตรงนี้มูราคามิก็เห็นตรงกัน เพราะจากงานแจกลายเซ็นต์ครึ่งหนึ่งที่อเมริกามีแฟนคนหนึ่งถามถึงความหมายของภูเขาไฟใต้มหาสมุทรจากเรื่อง The Second Bakery Attackว่ามันต้องการสื่ออะไร มูราคามิที่วุ่นอยู่กับการเซ็นต์หนังสือกองโตเงยหน้าขึ้นตอบอย่างสุภาพว่า “ไม่มีหรอกครับ มันไม่ได้แสดงถึงอะไรเลย มันเป็นได้ทุกอย่างที่คุณอยากให้มันเป็น .. แล้วแต่คุณก็แล้วกัน” และในการสัมภาษณ์เกี่ยวกับหนังสือเรื่อง Kafka on the Shore มูราคามิบอกว่าการแก้ปริศนาในเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับผู้อ่านแต่ละคน ดังนั้นสำหรับผู้อ่านอย่างเราๆจะคิดว่า Johnnie Walker เป็นเพียงจินตนาการของนาคาตะเองหรือว่ามีชายวัยกลางคน (เป็นไปได้ว่านี่คือพ่อของคาฟกาที่โดนฆาตกรรม) ที่ชอบแต่งคอสเพลย์แล้วฆ่าแมวจริงๆ ก็คงสุดแท้แต่จินตนาการจะพาไป และนี่ก็สอดคล้องกับความคิดของบาร์ตส์ในเรื่อง อวสานของผู้แต่ง ว่าผู้แต่งไม่มีอำนาจต่อความหมายของตัวบทอีกต่อไป หมดยุคของผู้แต่งแล้ว ความหมายของตัวบทจึงขึ้นอยู่กับผู้อ่านเท่านั้น ตัวบทจึงมีความลื่นไหนอยู่ตลอดเวลา ผู้อ่านมีหน้าที่สำคัญในการให้ความหมาย แม้เราจะไม่สามารถแยก Kafka on the Shore ออกจากมูราคามิได้ แต่อย่างน้อยเราก็เห็นได้ว่าในจุดนี้มูราคามิก็มีความเห็นตรงกับบาร์ตส์ว่าผู้อ่านสำคัญที่สุด (เพราะไม่ว่าจะผู้แต่ง พระเอก หรือพระเจ้าต่างก็ “ตายแล้ว” กันหมด ในมุมมองของโพสต์โมเดิร์น)

ลักษณะต่อมาที่บ่งชี้ความเป็นโพสต์โมเดิร์นของ Kafka on the Shore คือการทำให้เส้นแบ่งระหว่างสิ่งต่างๆพร่าเลือน นอกเหนือจากเส้นแบ่งประเภทวรรณกรรมที่พร่าเลือนในเรื่องนี้แล้ว ยังมีเส้นแบ่งที่พร่าเลือนที่ทำให้ตัวละครอย่างคาฟกา แยกความจริงกับจิตใต้สำนึกตัวเองไม่ออก ในหนังสือกล่าวถึงตำนานของฮิคารุ เก็นจิ (The Tales of Hikaru Genji) ซึ่งนับว่าเป็นวรรณกรรมอันทรงคุณค่าที่สุดของญี่ปุ่น ว่ามีการที่ตอนหลับจิตใต้สำนึกกลายสภาพเป็นวิญญาณที่มีชีวิตและไปทำร้ายคนที่ตนเกลียดมากโดยเมื่อตนตื่นมาก็ไม่รู้ตัว โอชิมะเล่าตำนานเรื่องนี้ให้คาฟกาฟัง เพราะคาฟกาถามถึงวิญญาณที่มีชีวิต (เพราะเขาเห็นวิญญาณวัยสิบห้า ของมิสซาเอกิผู้มีอายุห้าสิบ) เรื่องนี้ถูกเล่าให้เป็นเรื่องคู่ขนานกับเรื่องของคาฟกา ที่เขาคิดว่าเขาอาจจะเป็นฆาตกรฆ่าพ่อของเขาจริงๆก็ได้ เพราะในช่วงเวลาที่พ่อของเขาถูกฆาตรกรรมโดยประมาณ เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่เขาหมดสติไปแล้วตื่นมาพบตัวเองนอนอยู่ที่ศาลเจ้าโดยเสื้อเปื้อนเลือดไปหมด แต่เลือดนั้นมิใช่ของเขา เมื่อได้ฟังเรื่องราวเขาจึงมีความคิดว่าเป็นไปได้ไหมที่เขาเป็นคนฆ่าพ่อจริงๆ เส้นแบ่งระหว่างความจริงและความฝันที่แสนบางก็มีให้เห็นในเรื่องนี้ มีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่แสดงผ่านตัวละครอย่างฮางิตะ ซึ่งเป็นคนขับรถบรรทุก เขาพูดว่า “การเชื่อมโยงก็เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน ใครจะเป็นนายทุน ใครเป็นกรรมาชน ใครเอียงซ้าย ใครขวาตกขอบ การปฏิวัติข้อมูลข่าวสาร ออปชั่น ซื้อหุ้น สินทรัพย์ลอยตัว การปรับโครงสร้างองค์กรอาชีพ บรรษัทข้ามชาติ อะไรดี อะไรเลว เส้นแบ่งกลางระหว่างสองฟาก เลือนหายไปหมดสิ้นแล้ว” นี่อาจจะไม่ใช่แค่คำพูดของตัวละครตัวหนึ่งในนวนิยายเรื่องหนึ่ง แต่เป็นความคิดของมูราคามิที่ส่งผ่านตัวละครของเขา สำหรับโพสต์โมเดิร์นแล้วโลกนี้ไม่ได้มีแค่ขาวและดำ แต่โลกนี้เป็นส่วนผสมของหลายๆสี

งานของมูราคามิหลายชิ้นที่โจมตีสังคมญี่ปุ่น รวมทั้งชิ้นนี้ด้วย เรียกได้ว่าเป็นการโจมตีวาทกรรมอย่างหนึ่งของสังคม เพราะสังคมญี่ปุ่นมุ่งเน้นไปที่การสร้างความสามัคคี ทำให้ละเลยความเป็นปัจเจกบุคคล ผู้คนจึงมีปัญหาวิกฤติเอกลักษณ์ ซึ่งพวกเขารู้สึกสับสนไม่รู้ว่าตัวเองเป็นใคร ในเรื่องนี้คนที่มีวิกฤติเอกลักษณ์อย่างเด่นชัดคือคาฟกาและโอชิมะ ตั้งแต่เรื่องชื่อ เราไม่รู้เลยว่าจริงๆแล้วคาฟกาชื่ออะไร เรารู้จักเขาในนามคาฟกา และอีกตัวตนของเขาในชื่อ “เจ้าหนูชื่ออีกา” (คำว่าคาฟกาในภาษาเช็ก หมายถึง อีกา) มีความคิดหนึ่งที่เกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่เรียกว่า การตายของพระเอก (Death of the subject) ซึ่งพระเอกในที่นี้ในอดีตเคยเป็นพระเอกที่เป็นศูนย์กลางของทุกอย่างรวมทั้งตัวเองด้วย พระเอกสมัยโพสต์โมเดิร์นจึงมีชะตากรรมเหมือนกับอะไรหลายๆอย่างในโพสต์โมเดิร์นคือไม่มีศูนย์กลาง ไม่มีความเป็นหนึ่งเดียวของบุคลิกภาพหรือตัวตน สุดท้ายแล้วจึงสูญเสียเสรีภาพที่จะทำการต่างๆของอัตตา คาฟกาเป็นพระเอกประเภทนี้ เราจะเห็นได้ว่าคาฟกาหนีออกจากบ้าน พอพ่อถูกฆ่าก็ถูกตามหาตัวโดยที่เจ้าตัวไม่อยากถูกพบ จึงต้องหนีไปอยู่ในที่ๆไม่มีแม้แต่น้ำหรือไฟ ตัวเขาวิ่งหนีจากชะตากรรม(คำสาป) ไปเจอชะตากรรม ไม่มีทางหนีเพราะชะตากรรมเป็นเหมือนพายุทรายที่เปลี่ยนทิศทางไปตามเราตามที่ “เจ้าหนูชื่ออีกา” ได้กล่าวไว้ สิ่งที่ทำได้คือหลับตาแล้วเดินเข้าหาพายุทราย นอกจากคาฟกา โอชิมะเป็นอีกคนที่มีปัญหาทางเอกลักษณ์ เขาเคยถามตัวเองว่า เขาเป็น “ตัวอะไร“ กันแน่ หรือแม้แต่นาคาตะที่แม้ว่าจะมีปัญหาทางสมอง แต่กลับมีอิสระทางความคิด ไม่ถูกจำกัดในกรอบที่สังคมสร้างขึ้นเพราะเขาไม่เข้าใจกรอบนั้น แต่นาคาตะก็มีคำถามแห่งการดำรงอยู่เช่นกัน เขาสงสัยว่าเขาคือใคร ทำไมถึงได้รู้สึกเหมือนเป็นภาชนะกลวงเปล่าอย่างนี้ แต่โฮชิโนะตอบว่ามองดูรอบๆคนเราทุกคนต่างก็เป็นภาชนะกลวงเปล่ากันทั้งนั้น แต่ในตอนจบที่นาคาตะตายแล้วซากศพกายเป็นภาชนะกลวงเป่าสำหรับสัตว์ประหลาดจริงๆ ทำเอาคนอ่านถึงกับหัวเราะไม่ออก ปัญหาเอกลักษณ์นี้เกิดขึ้นมากในกลุ่มวัยรุ่นไม่เฉพาะแต่ในญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ทั่วโลก ในความเห็นของมูราคามิ เขาคิดว่าที่คนหนุ่มสาวชอบอ่านงานของเขาเป็นเพราะสามารถเข้าถึงตัวละครได้ เพราะมีความคล้ายคลึงกัน วัยรุ่นต่างไม่ต้องการเป็นเหมือนกันคนอีกล้านๆคน แต่ต้องการเป็นตัวของตัวเอง แต่นั่นทำให้พวกเขาถูกมองว่าเป็นพวกแปลกแยก ผลก็คือความโดดเดี่ยวที่กัดกินอยู่ข้างใน ทำให้ผู้อ่านเหล่านี้เข้าใจจิตใจตัวละครได้เป็นอย่างดี สังคมญี่ปุ่นแบบสามัคคีและชาตินิยมมากเกินจึงเป็นสังคมที่ผลักไสคนที่ไม่เข้าพวกออกจากกลุ่ม

ในอดีตมีการแบ่งแยก High Culture และ Low Culture ทั้งนี้เพื่อกำหนดคุณค่าและโดยมากมักเป็นการเพิ่มคุณค่าให้สิ่งที่อย่ในกลุ่ม High Culture การผสมผสานกันระหว่าง High Culture และ Low Culture ใน Kafka on the Shore ถูกถ่ายทอดออกมาผ่านตัวละครอย่างโฮชิโนะ คนขับรถบรรทุกที่ถูกบรรยายไว้ออกมาเหมือนภาพของสิงห์รถสิบล้อผู้ห้าวหาญ ระหว่างการเดินทางกับผู้เฒ่านาคาตะ เขาตัดสินใจเข้าโรงภาพยนตร์แห่งหนึ่งโดยไม่สนว่าโรงจะฉายเรื่องอะไร ปรากฏว่าเป็นภาพยนตร์สองเรื่องควบของผู้กำกับ ฟรองซัวร์ ทรุฟโฟต์ (Francois Truffaut) คือเรื่อง The 400 Blows และ Shoot the Pianist4 ซึ่งเป็นผลงานยุคแรกของทรุฟโฟต์ที่ได้ชื่อว่าล้ำเลิศ แน่นอนว่าใครๆก็คงจะคิดว่ามันต้องล้ำเลิศเกินสติปัญญาโฮชิโนะแน่ๆ แต่เขาก็รู้สึกชอบอารมณ์ของเรื่อง บรรยากาศโดยรวมและการตีแผ่ความในใจของตัวละคร ต่อมาเขาเข้าไปในร้านกาแฟที่เจ้าของร้านเปิดแต่เพลงคลาสสิก เขาได้รู้จักกับบทเพลงที่ประพันธ์โดยโมสาร์ท (Mozart) และไฮเดิน (Haydn) และได้เปรียบเทียบว่าดนตรีของไฮเดินให้ความรู้สึกเหมือนได้ดูหนังของทรุฟโฟต์ ซึ่งเจ้าของร้านกาแฟคอเพลงคลาสสิกเห็นด้วยอย่างพึงพอใจ ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ของทรุฟโฟต์ ดนตรีของโมสาร์ทและไฮเดิน หรือเจ้าของร้านกาแฟ ถือเป็นตัวแทนของ High Culture และโฮชิโนะเป็นตัวแทนของ Low Culture ตอนนี้แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เราเรียกกันว่า High Cultureไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ปัญญาชนเท่านั้น เพราะการรับรู้ชื่นชมศิลปะไม่ได้ขึ้นอยู่กับสติปัญญา แต่ขึ้นอยู่กับสุททรียภาพของแต่ละบุคคล

ประการสุดท้าย Kafka on the Shore เสนอความไร้พรมแดนของโลกนี้ โดยการอ้างอิงถึงวัฒนธรรมตะวันตกทั้งด้านวรรณกรรม ปรัชญา ศิลปะและดนตรี ตรงนี้เห็นได้เยอะในงานของมูราคามิทุกชิ้น เพราะตัวละครของเขามักเป็นพวกได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตก ตรงนี้มูราคามิชี้ว่ามันเป็นการไม่ถือสัญชาติและพรมแดน อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกเหล่านี้เป็นเครื่องแสดงถึงอิทธิพลที่สามารถแทรกซึมเข้าไปถึงปราการที่แข็งแกร่ของญี่ปุ่นได้ ถือว่าเป็นความไร้พรมแดน นอกจากนี้ประเด็นเรื่องข้อมูลข่าวสารที่สามารถหาได้บนอินเตอร์เนท ทั้งแบบฟรีและเสียเงิน โอชิมะเป็นข้อพิสูจน์เรื่องนี้ เพราะเขาเป็นคนที่ฉลาดรอบรู้ที่สุดในเรื่อง เป็นเหมือนสารานุกรมเดินได้ แต่เจ้าตัวไม่เคยออกจากเกาะชิโกกุเลย เพราะเขาเป็นโรคฮีโมฟีเลีย เขาจ่ายเงินให้โรงพยาบาลประจำเพื่อให้เก็บเลือดสะอาดไว้ให้เขาในยามฉุกเฉิน เขาพยายามที่จะไม่ให้ได้รับบาดเจ็บเลยตัดสินใจจะไม่เดินทางไปไหนไกลๆ อีกอย่างคือตอนที่คาฟกาอยากได้โน้ตเพลง Kafka on the Shore ก็สามารถซื้อออนไลน์ได้ หรือแม้แต่ตอนที่คาฟกาถูกตามตัวโดยตำรวจ โอชิมะก็สามารถเข้าไปเอาข้อมูลของตำรวจมาได้ แสดงให้เห็นว่านี่เป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสารจริงๆ

ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นลักษณะที่บ่งชี้ว่า Kafka on the Shore มีความเป็นโพสต์โมเดิร์นอย่างไร ไม่เพียงแต่วิธีการเขียนเท่านั้นแต่ความคิดก็แสดงถึงความเป็นโพสต์โมเดิร์นในด้านที่มีการนำเอาความรู้หลายๆด้านมาใส่ในผลงาน แม้ผู้แต่งจะปฏิเสธว่าเขาไม่ได้เป็นนักเขียนโพสต์โมเดิร์น แต่สิ่งที่เขาเขียนกลับสามารถแสดงถึงความเป็นโพสต์โมเดิร์นได้เป็นอย่างดี เป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้จึงได้บรรลุผลตามที่คาดไว้ สรุปได้ว่านวนิยายเรื่องนี้จัดเป็นวรรณกรรมโพสต์โมเดิร์นได้ทั้งด้านเนื้อหาและวิธีการเขียน


ฮารูกิ มูราคามิ

    ฮารูกิ มุราคามิ (ญี่ปุ่น: 村上春樹 Murakami Haruki ) เป็นนักเขียนและนักแปลร่วมสมัยชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงในระดับโลก ผลงานของเขาถูกนำไปแปลแล้วกว่า 30 ภาษา และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักอ่านทั่วโลก
    ฮารูกิ มุราคามิเกิดที่จังหวัดเคียวโตะ ประเทศญี่ปุ่นในปี 1949 แต่ไปโตที่เมืองโคเบะ พ่อและแม่ของมุราคามิมีอาชีพเป็นครูสอนวิชาวรรณกรรมญี่ปุ่น
    ชีวิตในวัยเด็กของมุราคามินั้นได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากวัฒนธรรมตะวันตก โดยเฉพาะด้านดนตรีและวรรณกรรม เขาเติบโตขึ้นมาด้วยการอ่านวรรณกรรมทุกประเภทของนักเขียนตะวันตก ส่งผลให้ลักษณะงานเขียนของเขามีความแตกต่างจากนักเขียนญี่ปุ่นคนอื่นๆอย่างชัดเจน โดยงานเขียนญี่ปุ่นส่วนใหญ่นั้นจะให้ความสำคัญอย่างมากกับความงามของภาษา ทำให้เกิดรูปแบบการเขียนที่เข้มงวดและเย็นชาในบางครั้ง แต่งานเขียนของมุราคามินั้นกลับมีรูปแบบที่เป็นอิสระและมีความลื่นไหล
    มุราคามิสำเร็จการศึกษาวิชาการละคร ภาควิชาวรรณคดี จากมหาวิทยาลัยวาเซดะในมหานครโตเกียวซึ่งเป็นที่ที่เขาได้พบกับโยโกะ ภรรยาของเขา หลังจากสำเร็จการศึกษา มุราคามิได้เปิดบาร์เล็ก ๆ ที่โตเกียว มีชื่อว่า ปีเตอร์ แคท (Peter Cat) โดยเล่นดนตรีแนวแจ๊ส (Jazz) อยู่เป็นเวลา 7 ปี ซึ่งส่งผลในดนตรีได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญในงานเขียนของมุราคามิอยู่เสมอ
    มุราคามิเริ่มเขียนนิยายเรื่องแรก Hear the Wind Sing ในปี 1979 เมื่อเขามีอายุได้ 29 ปี โดยได้รับแรงบันดาลใจอย่างฉับพลันและไม่คาดฝันมาจากการบรรยากาศในการนั่งชมการแข่งขันเบสบอลรายการหนึ่ง เขาใช้เวลาเขียนนวนิยายเรื่องนี้อยู่สองสามเดือน โดยใช้เวลาว่างหลังจากปิดร้านในการเขียน หลังจากเขียนเสร็จ เขาได้ส่งผลงานเรื่องนี้เข้าประกวดและได้รับรางวัลที่หนึ่ง ความสำเร็จตั้งแต่เรื่องแรกนี่เอง ที่เป็นแรงผลักดันให้เขาเขียนหนังสือเรื่อยมา โดยในปีถัดมา เขาได้ตีพิมพ์นิยายชื่อ Pinball, 1973 และตีพิมพ์ A Wild Sheep Chase ในปี 1982 ซึ่งทั้งหมดก็ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม นอกจากนี้ หนังสือทั้งสามเรื่องยังได้รวมตัวกันขึ้นเป็นไตรภาคที่มีชื่อว่า "Trilogy of the Rat" โดยมีตัวละครเชื่อมโยงทั้งสามเรื่องเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ต้นฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษของนิยายสองเรื่องแรกของมุราคามินั้นได้ขาดตลาดไปนานแล้ว เนื่องจากเขาเห็นว่ามันไม่ดีพอที่จะได้รับการพิมพ์เพิ่มนั่นเอง
    ในปี 1985 มุราคามิตีพิมพ์ผลงานชื่อ Hard-Boiled Wonderland and the End of the World ซึ่งเริ่มแสดงออกถึงองค์ประกอบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งปรากฏแต่ในงานเขียนของเขา อันได้แก่เรื่องราวสุดโต่งเหนือจินตนาการนั่นเอง
    มุราคามิเริ่มมาโด่งดังในระดับชาติในปี 1987 เมื่อเขาตีพิมพ์กับหนังสือเรื่องใหม่ที่ชื่อ Norwegian Wood ซึ่งมียอดจำหน่ายกว่าล้านเล่มในญี่ปุ่น ทำให้มุราคามิกลายเป็นหนึ่งในนักเขียนที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งในประเทศ แต่นั่นกลับเป็นเหตุผลให้เขาเดินทางออกนอกประเทศ
    ในปี 1986 มุราคามิตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวไปทั่วยุโรป ก่อนที่จะไปใช้ชีวิตอยู่ที่ สหรัฐอเมริกา ระหว่างที่มุราคามิใช้ชีวิตเป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยในอเมริกานั้น เขาก็มีผลงานออกมาอีกสองเรื่อง คือ Dance, Dance, Dance และ South of the Border, West of the Sun
    ในปี 1994 มุราคามิได้ส่งผลงานชื่อ The Wind-Up Bird Chronicle ออกสู่สายตานักอ่าน และนวนิยายเรื่องนี้ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นนวนิยายเรื่องที่ดีที่สุดของเขาอีกด้วย ระหว่างนี้เองที่ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับโศกนาฎกรรมแผ่นดินไหวที่โกเบ และเหตุการณ์ก่อการร้ายโดยใช้แก๊สโจมตีรถไฟใต้ดินของสาวกนิกายโอม ชินริเคียว ซึ่งหลังจากที่เขากลับมาที่ญี่ปุ่น เขาก็ได้เขียนสารคดีเกี่ยวกับสองเหตุการณ์ดังกล่าว ภายใต้ชื่อ Underground และ After the Quake
    นอกจากนี้เรื่องสั้นที่เขาเขียนระหว่างปี 1983 ถึง 1990 นั้นได้รับการรวมเล่มเป็นหนังสือชื่อ The Elephant Vanishes และมุราคามิยังได้ทำการแปลผลงานของนักเขียนมากมายเป็นภาษาญี่ปุ่นอีกด้วย
    ผลงานล่าสุด
    ผลงานนวนิยายขนาดสั้นชื่อ Sputnik Sweetheart ได้ถูกตีพิมพ์ในปี 1999 และผลงาน Kafka on the Shore ถูกตีพิมพ์ในปี 2002 และถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษในปี 2005 โดยผลงานแปลเป็นภาษาอังกฤษจากผลงานเรื่องล่าสุดของเขาที่ชื่อ After Dark ก็ออกวางจำหน่ายในปี 2007 นอกจากนี้เขายังมีผลงานรวมเรื่องสั้นที่ผสมผสานระหว่างผลงานเรื่องสั้นที่เขาเขียนในช่วงปี 80 กับผลงานเรื่องสั้นล่าสุดตีพิมพ์ภายใต้ชื่อ Blind, Willow, Sleeping Woman ก็ได้ออกวางจำหน่ายในเดือนสิงหาคม 2006 มูราคามิได้ตีพิมพ์ What I talk about when I talk about running ซึ่งเป็นความเรียงกึ่งบันทึก เมือปี 2007 โดยได้แปลเป็นภาษาอังกฤษในปี 2008 และเป็นภาษาไทยในปี 2009 ในชื่อ "เกร็ดความคิดบนก้าววิ่ง"
    นวนิยายเรื่องใหม่จาก มูราคามิ: 1Q84
    ฮารูกิ มูราคามิ ได้ออกผลงานนวนิยายเรื่องยาวอีกครั้งในปี 2009 ชื่อ 1Q84 โดยมีแผนที่จะออกทั้งหมด 3 เล่ม เล่ม 1และเล่ม 2 ออกวางจำหน่ายฉบับภาษาญี่ปุ่นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2009 ส่วนเล่มที่ 3 ออกจำหน่ายในเดือนเมษายน 2010 ส่วนฉบับแปลภาษาอังกฤษของ1Q84 เล่ม 1-2 นั้นมีกำหนดการวางจำหน่ายในเดือนกันยายน 2011 โดยสำนักพิมพ์ Random House ได้กำหนดผู้แปลไว้เรียบร้อยแล้ว โดย Jay Rubin จะแปลเล่ม 1 และ 2 ส่วนเล่ม 3 นั้นจะเป็นหน้าที่ของ Philip Gabriel สำหรับฉบับแปลภาษาไทย สำนักพิมพ์กำมะหยี่ได้ลิขสิทธิ์การแปลเล่ม1-2 เรียบร้อยแล้วโดยจะเป็นการแปลจากต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น
    ข้อวิพากษ์วิจารณ์
    ผลงานของมุราคามิมักถูกวิจารณ์ว่าเป็น วรรณกรรมป๊อปที่มีอารมณ์ขันและเรื่องราวเหนือธรรมชาติ ในขณะเดียวกันก็สะท้อนความรู้สึกแปลกแยก โดดเดี่ยว และการโหยหาความรักในทางที่สามารถเข้าถึงผู้อ่านในอเมริกา ยุโรป และเอเชียตะวันออกได้ งานของมุราคามิมักกล่าวถึงการที่ญี่ปุ่นหมกมุ่นในลัทธิทุนนิยม ความว่างเปล่าทางจิตใจของผู้คนรุ่นเดียวกับเขา และผลกระทบด้านลบทางจิตใจของญี่ปุ่นที่ทุ่มเทให้กับงาน งานของเขาวิพากษ์วิจารณ์ความตกต่ำของคุณค่าความเป็นมนุษย์ และการขาดการติดต่อระหว่างผู้คนในสังคมทุนนิยมของญี่ปุ่น
    ผลงาน
    นวนิยาย
    ปี
    ชื่อญี่ปุ่น
    ชื่ออังกฤษ
    ชื่อไทย
    風の歌を聴け
    Kaze no uta o kike
    Hear the Wind Sing
    1973年のピンボール
    1973-nen no pinbōru
    Pinball, 1973
    羊をめぐる冒険
    Hitsuji o meguru bōken
    A Wild Sheep Chase
    世界の終りとハードボイルド・ワンダーランド
    Sekai no owari to hādoboirudo wandārando
    Hard-Boiled Wonderland and the End of the World
    ノルウェイの森
    Noruwei no mori
    Norwegian Wood
    ダンス・ダンス・ダンス
    Dansu dansu dansu
    Dance Dance Dance
    国境の南、太陽の西
    Kokkyō no minami, taiyō no nishi
    South of the Border, West of the Sun
    ねじまき鳥クロニクル
    Nejimaki-dori kuronikuru
    The Wind-Up Bird Chronicle
    スプートニクの恋人
    Supūtoniku no koibito
    Sputnik Sweetheart
    海辺のカフカ
    Umibe no Kafuka
    Kafka on the Shore
    アフターダーク
    Afutā Dāku
    After Dark
    1Q84
    Ichi-kyū-hachi-yon
    1Q84

     สารคดี
    ปี
    ชื่อญี่ปุ่น
    ชื่ออังกฤษ
    ชื่อไทย
    アンダーグラウンド
    Andāguraundo
    Underground (1)
    ยังไม่มีการแปลเป็นภาษาไทย
    約束された場所で
    Yakusoku sareta basho de
    Underground (2)
    ยังไม่มีการแปลเป็นภาษาไทย
    走ることについて語るときに僕の語ること
    Hashiru koto ni tsuite kataru toki ni boku no kataru koto
    What I talk about When I talk about Running
     รวมเรื่องสั้น
    ปี
    ชื่อญี่ปุ่น
    ชื่ออังกฤษ
    ชื่อไทย
    中国行きのスロウ・ボート
    Chugoku yuki no Suroh Bohto
    A Slow Boat To China
    螢・納屋を焼く・その他の短編
    Hotaru, Naya wo yaku, sonota no Tampen
    Firefly, Barn Burning and Other Stories
    パン屋再襲撃
    Pan-ya Saishuhgeki
    The Second Bakery Attack
    レキシントンの幽霊
    Rekishinton no Yuhrei
    Lexington Ghosts
    神の子どもたちはみな踊る
    Kami no kodomo-tachi wa mina odoru
    After the Quake
    อาฟเตอร์เดอะเควก
    หมายเหตุ: หนังสือรวมเรื่องสั้นเหล่านี้เป็นรายการเฉพาะเล่มที่ได้รับการแปลภาษาไทยแล้วเท่านั้น งานเรื่องสั้นของมุราคามิยังมีอีกมากมายที่ยังไม่ได้แปลเป็นภาษาไทย
    บทสัมภาษณ์ ฮารูกิ มูราคามิ
    "ฮารูกิ มูราคามิ" ชี้นวนิยายแนวเหนือจริงมีพลังสูงในการอธิบายโลกยุคหลังสงครามเย็นและ 11 กันยา ส่งผลให้งานเขียนของตนเองได้รับความนิยมทั่วโลก
    "ฮารูกิ มูราคามิ" นักเขียนนวนิยายชื่อดังชาวญี่ปุ่นที่มีแฟนนักอ่านจำนวนมากมายคอยติดตามผลงานอยู่ทั่วทุกมุมโลก ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า ในภาวะสับสนวุ่นวายของโลกหลังยุคสงครามเย็นและเหตุการณ์ระเบิดตึกเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2544 ได้ส่งผลให้งานเขียนในเชิงอุปมาเปรียบเทียบด้วยเรื่องราวเหนือจริงมีพลังมากยิ่งกว่าสิ่งที่เป็นความจริง และนั่นส่งผลให้นวนิยายแนวเหนือจริงของเขามียอดจำหน่ายที่สูงในหลายประเทศทั่วโลก
    "ผมคิดว่าผู้คนได้ค่อย ๆ ทำความเข้าใจและยอมรับในความเป็นจริงของสรรพสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง" มูราคามิกล่าว
    นักเขียนชื่อดังแสดงความเห็นว่า แม้เราจำเป็นจะต้องเขียนถึงโลกในยุคหลังสงครามเย็น แต่มันกลับไม่สำคัญเลยว่าเรื่องราวที่เราเขียนขึ้นนั้นจะมีความสมจริงปรากฏอยู่มากน้อยเพียงใด เพราะความสมจริงไม่สามารถอธิบายโลกร่วมสมัยได้อย่างเพียงพออีกต่อไป และวิถีทางเดียวที่เราจะเขียนถึงโลกยุคปัจจุบันได้ก็คือ การเขียนผ่านลักษณะอุปมาเปรียบเปรยอย่างเหนือจริง
    ล่าสุด มูราคามิเพิ่งมีผลงานนวนิยายเล่มใหม่ชื่อ "1Q84" ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจในการตั้งชื่อมาจากนวนิยายอมตะเรื่อง "1984" ของ "จอร์จ ออร์เวลล์" ทั้งนี้ เหตุการณ์ 11 กันยายน และเหตุการณ์ปล่อยก๊าซพิษทำลายชีวิตผู้คนในสถานีรถไฟใต้ดิน ณ กรุงโตเกียว โดยลัทธิโอมชินริเกียว เมื่อปี พ.ศ.2538 ถือเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เขาเขียนนวนิยายเล่มนี้ออกมา
    "สำหรับผม เหตุการณ์ 11 กันยา ไม่น่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกความเป็นจริง มันต้องมีโลกอื่นที่ไหนสักแห่ง ซึ่งเรื่องราวแบบนี้จะไม่มีทางเกิดขึ้น" นักเขียนนวนิยายชาวญี่ปุ่นกล่าวและว่า "ผมสงสัยตลอดมาว่า โลกซึ่งตนเองอาศัยอยู่ในปัจจุบันใบนี้เป็นโลกแห่งความจริงจริงหรือไม่ ผมรู้สึกว่ามันน่าจะมีโลกอื่น ซึ่งไม่ได้เป็นแบบโลกใบนี้"
    ปัจจุบัน ฮารูกิ มูราคามิ มีอายุ 60 ปี เขาจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวาเซดะ และยึดอาชีพเป็นนักเขียนที่ผลิตงานต้นฉบับด้วยภาษาญี่ปุ่นมาร่วม 3 ทศวรรษ โดยผลงานนวนิยาย เรื่องสั้น และบทความของเขาได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 40 ภาษา (รวมทั้งภาษาไทย) นอกจากนี้ มีหลายคนคาดการณ์ว่ามูราคามิจะได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม ในอนาคต
    อย่างไรก็ตาม นักเขียนรายนี้กลับเห็นว่ารางวัลที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับเขาคือคนอ่าน
    "ผู้คนมักจะมองกันแต่เพียงเรื่องของรางวัลและปริมาณ ทว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงแค่ผลลัพธ์ และพวกมันก็ไม่มีความหมายใด ๆ ในตัวของพวกมันเอง" มูราคามิ กล่าวทิ้งท้าย
     
    วิถีเขียนของ ฮารูกิ มูราคามิ วิถีแปลของ นพดล เวชสวัสดิ์
     
    วิถีเขียนของ ฮารูกิ วิถีแปลของ นพดล เวชสวัสดิ์ วรรณกรรมร่วมสมัยของญี่ปุ่น ถือว่าไม่ห่างเหินกับสังคมนักอ่านชาวไทยไปเลยทีเดียว ยังมีการแปลมาให้อ่านกันประปราย แม้จะไม่มากมายนักก็ตาม เมื่อกระแสเอเชียกำลังมา โดยเฉพาะแฟชั่นญี่ปุ่น เพลงญี่ปุ่น ละครโทรทัศน์ญี่ปุ่น กำลังเป็นที่นิยม วรรณกรรมญี่ปุ่นก็เลยถูกนำมาแปลอย่างเพิ่มมากขึ้นไปตามโอกาส ฮารูกิ มูราคามิ เป็นนักเขียนญี่ปุ่นคนหนึ่งที่มีชื่อเสียงในระดับโลก นวนิยายของเขานั้นได้รับการยอมรับและกล่าวขวัญ ขายดีทั้งในญี่ปุ่น และฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษก็ได้รับความสำเร็จทั่วโลกไม่แพ้กัน นพดล เวชสวัสดิ์ ก็เลยหยิบงานนวนิยาย 3 ชิ้นแรกของมูราคามิ มาแปลเป็นภาษาไทย ให้ได้อ่านกัน คือ
    "สดับลมขับขาน" (Hear the Wind Sing)
    "พินบอล 1973" (Pinball 1973)
    "แกะรอยแกะดาว" (A Wild Sheep Chase) "
    ที่เลือกแปลสามเล่มแรกของเขา เป็นไตรภาคของบุรุษ เพราะถ้าเลือกทำเรื่องที่ดังที่สุด คนอ่านก็จะตกใจว่า เขามีที่มาที่ไปอย่างไร เล่มแรก "สดับลมขับขาน" เล่มนั้นอาจจะไม่ขายดี แต่ถือว่า เขาสะท้อนลักษณะของปัจเจกได้ชัด เรื่องที่เหมือนกับเหลวไหล แต่ว่ายังมีแก่นสาระ ถ้าจะดูในแง่มุมหนึ่ง พ่อแม่ของมูราคามิ เป็นครูสอนวรรณคดีญี่ปุ่น แล้วลูกชายไม่อ่านวรรณ คดีญี่ปุ่นเลย เป็นขบถก็ว่าได้ เขาอาจจะเห็นอย่างนี้มาตลอดชีวิตแล้วบอกไม่เอา เพราะอยากเล่าเรื่องตามวิธีและมุมมองของเขา ซึ่งก็ไม่ต่างกัน" สารหรือหัวใจที่คนแปลจับได้จากนักเขียนที่เขาหยิบหนังสือมาแปล
    นภดลบอกว่า "ไม่อยากจะแปลออกมาทีละเล่ม เพราะอยากให้คนอ่านแล้วเก็บไปคิด ไปทบทวนว่าเท่าที่อ่านผ่านมา เหมือนกับไม่ได้อะไรเลย แต่มีอะไรสักอย่างสะกิดเราอยู่ นี่คือเหตุผลที่เลือกมาแปล "คิดว่าถ้าเป็นเด็กวัยรุ่นอ่านน่าจะจับอารมณ์ได้เลย จริงๆ แล้วชีวิตเด็กวัยรุ่นของไทยในปัจจุบันก็ไม่ต่างกันเลย มันจะเป็นสากลมากคือ เด็กอายุ 18-19 ปี ความรู้ความชำนาญยังไม่เยอะ จะเป็นเด็กกลับไปหาพ่อแม่ก็ไม่ได้ ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่อ้างว้าง เด็กก็ไม่ใช่ ผู้ใหญ่ก็ไม่เต็มที่" จากจุดนี้ นพดลมองว่า มูราคามิชี้ให้เห็นถึงความว่างเปล่า เขาจะคิดอะไร ทำอะไร หาที่ยึดเหนี่ยวตรงไหน เป็นโลกใบเล็กของเด็กวัยรุ่น ส่วนใหญ่ถามว่า อ่านแล้วจับความได้หรือเปล่า งานของมูราคามิ เหตุและผลต้องหาเอาเอง "โดยสรุปแล้ว อ่านจบเล่ม จะต้องมีอะไรสักอย่างหนึ่ง เขียนถึงเรื่องความเหงาเขาก็ไม่ใช้คำว่า เหงา ทุกอย่างที่เขาสานมาให้เรา เมื่อเราอ่านจบแล้วก็เกิดความเหงาขึ้นมา เขาต้องการปลุกความเหงาขึ้นมา"
    นพดลก็ยังยืนยันว่า งานเขียนของมูราคามิเป็นการต้านสังคมเป็นการต้านฮีโร่ทั้งหลาย "จากจุดนี้ เด็กวัยรุ่นทั้งหลายไม่ใช่ว่าเขาไม่รับรู้โลก เขามองเห็น แต่ว่าส่วนใหญ่มักจะเลือกไม่ได้ต้องเข้าไปสู่ระบบ ต้องโดนกลืนเข้าไปสู่ระบบนั้น เพียงแต่ว่าเขาเลือกจะใช้ชีวิตของเขาเอง คนต้องอยู่ได้กับความเหงา แต่ความเหงาไม่ใช่ว่าจะไร้สาระ จะมีแก่นของมันเอง ความประทับใจเล็กๆ น้อยๆ ที่คนทั่วไปมองข้าม แล้วก็อยู่นานจนลืม คือคนที่ใช้ชีวิตของตัวเอง ไม่ได้ผูกติด ไม่ได้จำนนกับใคร ไม่ได้เรียกร้องหรือหวังอะไรจากใคร คือยังใช้ชีวิตของตัวเอง สุดท้ายก็มาปฏิเสธความยิ่งใหญ่ทั้งหมดของโลก"
    นพดลยังขยายความอารมณ์ของตัวเอง เมื่อได้แปลงานของมูราคามิว่า เมื่อไหร่ที่อ่านหนังสือ ใช่ว่าจะเอาแต่เนื้อหา บางทีก็ได้อารมณ์ อารมณ์นั้นคือความอ้างว้างที่นักเขียนเจาะเข้ามาหาเรา "เพียงแต่เขาเขียนง่ายๆ ในแต่ละฉากแต่ละย่อหน้า สานอารมณ์ออกมา ชีวิตที่อยู่ในเมืองใหญ่หาใครเป็นที่พึ่งไม่ได้ เป็นกระบอกเสียงให้กับคนหนุ่มสาวที่ค้นหาและยังอ้างว้างอยู่ เขากำลังบรรยายให้ฟัง แล้วเทียบเคียงดูว่าความคิดความรู้สึกของเรานั้นแตกต่างกันตรงไหน" กับการทำงานแปลมาถึง 20 ปีเต็ม
    นพดลมองทะลุว่า มูราคามิเป็นนักเขียนที่มีฝีมือไม่โฉ่งฉ่าง ตอนที่ตัวเขาเองแปลก็ทำหน้าที่เหมือนคนอ่าน อ่านแล้วไม่สนุกก็จะไม่แปล เพราะต้องทำงานตั้งแต่ตัวแรกจนถึงตัวสุดท้าย "ตอนแปลก็ไม่อยากให้จบ ความรู้สึกยังโหยหาอยู่ เป็นเรื่องไร้สาระ แต่เป็นความเคยชินที่ทำให้เรารู้สึกไปทีละนิด แต่ก็คงเขียนออกมายาก เพราะเป็นบรรยายเรื่องเดิมสั้นๆ ถ้าเขียนไม่ดีก็น่าเบื่อ เขาเขียนเรื่องเรื่อยๆ เฉื่อยๆ อย่างนี้ แต่จุดเด่นคือ มีบทคมๆ แทรกมา เพื่อจะเบรกการบรรยาย แล้วเอาการต่อปากต่อคำเข้ามา" นพดลมองว่า นวนิยายสามเล่มแรกคือ "สดับลมขับขาน" "พินบอล 1973" และ "แกะรอยแกะดาว" นั้น เหมาะกับวัยรุ่น
    แต่ชุดถัดไป "นอร์วีเจี้ยน วู้ด" "แด๊นซ์  แด๊นซ์  แด๊นซ์" และ "สปุตนิก สวีตฮาร์ต" ที่จะแปลออกมา จะเล่นลงลึก เล่าความผูกพันระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย แล้วก็มีความตาย ถือว่าเป็นเรื่องสวยงาม "ชุดสองจะเป็นเรื่องรัก ผู้หญิง และความตาย ชุดที่สามที่ยังไม่ได้เริ่มต้นแปล จะพาท่องไปในโลกแฟนตาซี เป็นดินแดนที่เขาวาดขึ้นมา ที่ผมทำงานแปลของมูราคามิออกมา ขอให้มีคนอ่าน ถ้าอ่านงานของเขาแล้วจับความได้ ก็เหมือนกับ การที่ได้รู้จักเขา ว่าเขาคิดของเขาแบบนี้ แล้วไม่ได้สนใจใคร" ใจจริงของคนแปลงานอย่าง นพดลอยากให้ลองอ่านงานชุดแรกก่อน แล้วจะเกิดความรู้สึกว่าชุดที่สองต้องอ่าน จะซึมซับได้ถึงความไร้สาระที่ว่า มันมีอะไรสักอย่างหนึ่งให้ค้นหา "ชุดที่สองจะเป็นการแนะนำความตายให้เด็กวัยรุ่นที่ไม่คิดถึงความตาย จะเข้าใจชีวิตได้ลึกทันทีหลังจากที่เจอพวกนี้ ความตายที่ว่านั้นเป็นความตายของคนในวัยเดียวกัน ความตายที่อยู่ใกล้ตัวเอามาขยายให้ดูว่าจะวิเคราะห์ให้เห็นว่าแต่ละรายเจออะไรมากขนาดไหนถึงขั้นที่จะต้องตาย สามเล่มหลังที่จะออกมาจะเป็นเรื่องรักตามวิธีของมูราคามิ" สำหรับ "นอร์วีเจี้ยน วู้ด" ที่จะเป็นนวนิยายแปลเป็นภาษาไทยของมูราคามิเล่มที่ 4 จะออกมาในเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ ซึ่งนวนิยายเรื่องนี้ได้ทำให้ชีวิตนักเขียนของมูราคามิขยับก้าวขึ้นสู่ระดับอินเตอร์อย่างแท้จริง สามารถขายได้ 1700000 เล่มในปีเดียว และแปลเป็นภาษาอังกฤษขายดีทั่วโลก
    ถึงเวลาหรือยังที่นักอ่านไทยลิ้มลองอ่านงาน ของมูราคามิว่า ทำไมเขาจึงเป็นนักเขียนเอเชียที่โด่งดังและขายดีระดับโลก ฮารูกิ มูราคามิ เกิดวันที่ 12 มกราคม ปี 2492 ที่เกียวโต ไปเติบโตที่เมืองโกเบ จัดอยู่ในกลุ่มเบบี้บูมรุ่นแรกหลังสงคราม เป็นรุ่นที่เติบโตขึ้นมาพร้อมๆ กับความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เขาเป็นคนรักการอ่านจากการปลูกฝังของพ่อแม่ซึ่งเป็นอาจารย์สอนภาษาและวรรณคดี นอกจากหนังสือภาษาญี่ปุ่น เขาได้อ่านหนังสือวรรณกรรมภาษาอังกฤษและหนังสือประวัติศาสตร์ตั้งแต่เด็ก ทำให้เขามีความเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษและมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลกเป็นอย่างดี เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยวาเซดะ สาขาการละคร และจบการศึกษาในปี 2518 และไม่ได้เข้าทำงานบริษัท ใช้ชีวิตในโลกธุรกิจเช่นชายญี่ปุ่นรุ่นเดียวกันส่วนใหญ่ทำ แต่ดำเนินกิจการบาร์แจ๊ซร่วมกับภรรยาซึ่งแต่งงานกันตั้งแต่เป็นนักศึกษา ต่อมาในปี 2522 ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญต่อชีวิตนักเขียนของมุราคามิ เขาได้เขียนผลงานเรื่อง "Kaze no Uta wo Kike" (ฉบับแปลภาษาไทย "สดับลมขับขาน" โดย นพดล เวชสวัสดิ์) ส่งเข้าประกวดและได้รับรางวัลนักเขียนหน้าใหม่ของนิตยสารกุนโซ ครั้งที่ 23 ปี 2524 เขาจึงตัดสินใจเลิกกิจการบาร์หันมายึดงานเขียนเป็นอาชีพหลัก หลังจากนั้นก็ใช้ชีวิตกับการแต่งหนังสือ เขียนบทความ เรื่องสั้น ลงนิตยสาร หนังสือพิมพ์ และอินเตอร์เน็ต แปลหนังสือวรรณกรรมร่วมสมัยของอเมริกา เช่น ผลงานของเรย์มอนด์ คาร์เวอร์  สก็อต ฟิตช์เจอราลด์ เป็นจำนวนมากตั้งแต่ปี 2529-2538 ออกไปพำนักอาศัยนอกประ เทศญี่ปุ่น เดินทางท่องเที่ยวทั้งในภาคพื้นยุโรปและเอเชีย โดยได้นำประสบการณ์และรูปถ่ายที่ได้มาถ่ายทอดเป็นหนังสือและบท ความตามนิตยสารมากมาย และขณะพำนักอยู่ในอเมริกาได้รับเชิญไปเป็นศาสตราจารย์อาคันตุกะให้กับมหาวิทยาลัยพรินซตัน และเคมบริดจ์อีกด้วย เขาตัดสินใจกลับมาพำนักในญี่ปุ่นอีกครั้งในปี 2538 หลังทราบข่าวเหตุการณ์สาวกลัทธิโอมชินริเคียวก่อวินาศกรรมก๊าซพิษ ณ ใจ กลางกรุงโตเกียว มูราคามิไม่มีลูก ครอบครัวของเขาคือภรรยากับแมวที่ทั้งคู่เลี้ยงไว้
    ผลงานเขียนของมูราคามิที่ได้รับการแปลและตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ "Hear the Wind Sing" "Pinball  1973" "A Wild Sheep Chase" "Norwegian Wood" "The Elephant Vanishes" "Dance  Dance  Dance" "The Wind-Up Bird Chronicle" "South of the Border  West of the Sun" "Sputnik Sweetheart" นิยายของฮารูกิ มูราคามิ
    เรื่องของ ฮารูกิ มูราคามิ
    ข้อเท็จจริงสำคัญเกี่ยวกับนักเขียนที่เจ๋งที่สุดในโลกปัจจุบัน
    เป็นไปได้อย่างยิ่งว่า ฮารูกิ มูราคามิ เป็นนักเขียนยอดนิยมที่ประสบความสำเร็จและมีอิทธิพลสูงสุดในโลกปัจจุบัน ชายวัย 60 ผู้นี้มียอดขายหนังสือเป็นล้านๆ เล่มในญี่ปุ่น นิยายเล่มที่ 5 นอร์วีเจียน วูด (ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย) ขายได้มากกว่า 3 ล้าน 5 แสนเล่มในปีแรกที่วางแผง และผลงานของเขาได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ 40 ภาษา และขายดิบขายดีเช่นเดียวกัน  อาฟเตอร์ ดาร์ก (ราตรีมหัศจรรย์) นิยายขนาดสั้นเล่มล่าสุดเมื่อปีที่แล้ว ขายได้ 1 แสนเล่มในช่วงสามเดือนแรก
    หนังสือของเขาเป็นเหมือนอาหารญี่ปุ่น คือมีส่วนผสมของความละเอียดอ่อน สุขุมนุ่มละมุน พร้อมกับความแปลกตาน่าพิศวง ความฝันกับความจริงสลับที่ทาง ทุกสิ่งอันหมักบ่มด้วยอารมณ์ขันแบบตลกร้าย อาจารย์เจย์ รูบิน ผู้แปลงานของมูราคามิกล่าวว่า การอ่านหนังสือของมูราคามิเปลี่ยนสมองผู้อ่าน วิธีการมองโลกของเขาเป็นแรงบันดาลใจให้ โซเฟีย คอปโปลา ผู้กำกับภาพยนตร์, นักเขียน เดวิด มิทเชลล์ และวงดนตรีอเมริกันมากมาย เช่น เฟลมิง ลิปส์
    เขาได้รับรางวัล ฟรานซ์ คาฟกา รางวัลเยรูซาเล็ม และอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม
    1. มูราคามิสร้างความแตกแยกจริงหรือ
    ในเดือนมิถุนายน ค.ศ.2000 คณะกรรมการในรายการโทรทัศน์ด้านการวิจารณ์วรรณกรรมของเยอรมันรายการหนึ่ง มีความเห็นแตกคอกันอย่างรุนแรงเกี่ยวกับงานเขียนของฮารูกิ มูราคามิ จนสมาชิกคนหนึ่งถึงกับลาออกหลังจากทำงานกับรายการนี้มานาน 12 ปี ในญี่ปุ่นเองก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน  ขณะที่นักอ่านหนุ่มสาวชื่นชอบเขาและถึงกับเลือกไปเรียนที่เดียวกับเขา คือ มหาวิทยาลัยวาเซดะ โดยหวังว่าจะได้พักอยู่ในหอพักที่เขาบรรยายไว้ในเรื่องนอร์วีเจียน วูด  หากบรรดาคนในวงการวรรณกรรมญี่ปุ่นกลับมองว่างานของเขาเป็นงานตลาด งานขยะ และมีความเป็นตะวันตกมากเกินไป โดยคนเหล่านี้จะชอบงานเขียนแบบตามขนบของมิชิมา ทานิซากิ หรือคาวาบาตะมากกว่า
    มูราคามิเกิดที่เมืองเกียวโต ในปี ค.ศ. 1949เรียนด้านศิลปะการละครที่มหาวิทยาลัยวาเซดะ กระนั้นเขาก็ไม่ได้สนใจวิชาที่เรียนมากนัก และใช้เวลาส่วนใหญ่อ่านบทภาพยนตร์ในห้องสมุด เขาได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากการลุกฮือของนักศึกษาในปี ค.ศ.1968 ซึ่งปรากฎอยู่ในหนังสือหลายเล่มที่เขาเขียน สรุปแล้วก็คือ เขาเป็นคนรุ่น “เบบี้ บูมเมอร์” (เด็กที่เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2) ของแท้ ผู้วิจารณ์ความหมกมุ่นในระบบทุนนิยมของญี่ปุ่นอย่างเปิดเผย เขาเห็นว่าประเพณีของญี่ปุ่นน่าเบื่อ อันเป็นเรื่องที่ไม่ได้รับการยอมรับด้วยดีเท่าใดนัก
    2. มูราคามิมีอิทธิพลไปทั่ว
    เช่นเดียวกับงานของนักเขียนญี่ปุ่นมากมายนับไม่ถ้วน โครงเรื่องและสไตล์ของภาพยนตร์เรื่อง ลอสต์ อิน ทรานสเลชัน ของโซเฟีย คอปโฟลา ได้รับแรงบันดาลใจจากนิยายของมูราคามิ เดวิด มิทเชลล์ นักเขียนผู้ได้รับการเสนอผลงานเข้าชิงรางวัลบุคเกอร์ ไพรซ์สองครั้ง ก็ได้อิทธิพลของมูราคามิหลังจากอ่านงานของเขาตอนที่สอนหนังสืออยู่ในญี่ปุ่น ดังนี้ ชื่อหนังสือนิยายของมิทเชลล์เล่มที่สอง “นัมเบอร์ นายน์ ดรีม” จึงเป็นการให้เกียรติกับนอร์วีเจียน วูด เพราะเป็นชื่อที่ตั้งตามชื่อเพลงของวงเดอะ บีทเทิลส์ เช่นเดียวกัน นอกจากนั้นก็มีคณะละครคอมพลิซิตดัดแปลง เรื่องสั้นชื่อ “เดอะ เอเลเฟน วานิชส์” เป็นละครเวที ในปี ค.ศ. 2003 ส่วนโรเบิร์ต วัตต์ นักดนตรีชาวอังกฤษ อ่านหนังสือของมูราคามิบันทึกลงในอัลบั้ม ซองส์ ฟรอม บีฟอร์ ของ แม็กซ์ ริชเตอร์ ที่ออกในปี ค.ศ. 2006 และ ซาวด์ ไทร์บ เซ็คเตอร์ นายน์ วงดนตรีแจมแบนด์แบบวง เกรตฟุล เดด ก็ทำดนตรีประกอบภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องสั้นของมูราคามิเรื่อง ออล กอด’ส ชิลเดร็น แคน แดนซ์ ใน ปี ค.ศ. 2007 3. หนังสือของมูราคามินำไปทำหนังสูตรสำเร็จจ๋าขายง่ายๆ ไม่ได้
    ลองนึกภาพ เจดี ซาลิงเจอร์ (ผู้เขียนเดอะ แคทเชอร์ อิน เดอ ไร หนังสือดังสำหรับเยาวชนอเมริกัน) กับ กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ (ผู้เขียน “หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว" เจ้าของรางวัลโนเบล ปี ค.ศ. ๑๙๘๒) ร่วมมือกันทำหนังสือการ์ตูนจากหนังสือสืบสวนสอบสวนเรื่องมัลเตส ฟัลกอน ก็แล้วกัน นอร์วีเจียน วูด เป็นหนังสือญี่ปุ่นที่เทียบได้กับ เดอะ แคทเชอร์ อิน เดอ ไร ที่วัยรุ่นผู้ว้าวุ่นทุกคนควรจะอ่าน แต่ก็แปลกที่มูราคามิซึ่งแปล เดอะ แคทเชอร์ อิน เดอ ไร เป็นภาษาญี่ปุ่น เห็นว่าเป็นหนังสือที่ดีแต่ไม่สมบูรณ์ “เรื่องราวดำมืดขึ้นเรื่อยๆ และโฮเดน โคฟิลด์ หาทางออกจากโลกมืดนั้นไม่ได้” เขาว่า “ผมคิดว่าตัวซาลิงเจอร์เองก็คงหาทางออกไม่เจอเหมือนกัน”  มูราคามิจัดความสมดุลระหว่างชีวิตสามัญกับโลกประหลาดในจินตนาการ มีการบรรยายวิธีการเตรียมและกินอาหารง่ายๆ ปรากฏในงานของเขาอย่างสม่ำเสมอ
    ตัวละครเอกของเขามักจะเป็นคนธรรมดาๆ ที่พยายามเอาชีวิตตัวเองให้รอดไปวันๆ จนกระทั่งมีคนนำทางจากสวรรค์ชี้เส้นทางใหม่ให้ และบางครั้งนำทางให้เดินตามกันจริงๆ ตามความหมายตรงๆ เช่น ในเรื่องสั้นชื่อ ออล กอด’ส ชิลเดร็น แคน แดนซ์ โยชิยะ ชายหนุ่มคนหนึ่งที่ทำงานในบริษัทสิ่งพิมพ์ ตื่นขึ้นมาพร้อมกับอาการเมาค้างปวดตัวแทบแตก แล้วออกจากบ้านไปที่ทำงานสายกว่าปกติหลายชั่วโมง บนรถไฟที่เขาขึ้นกลับบ้านคืนนั้น เขาเจอชายแก่คนหนึ่งที่ดูเหมือนพ่อที่หายสาบสูญไปของตน โยชิยะตามชายผู้นั้นตั้งแต่บนรถไฟ ต่อด้วยถนนเปลี่ยวมืด ก่อนจะไปอยู่ในสนามเบสบอลว่างเปล่ายามราตรี ชายแก่ผู้นั้นหายตัวไป และโยชิยะยืนอยู่บนจุดขว้างในสายลมหนาวและเต้นกันดื้อๆ ตรงนั้นนั่นเอง
    4.มูราคามิสับสน ไม่รู้จะเอายังไงกับบ้านเกิดของตน
    ทั้งพ่อและแม่ของเขาเป็นครูสอนวรรณคดีญี่ปุ่น แต่เขากลับชอบอ่านหนังสือนิยายราคาถูกมือสองที่หาได้ที่ท่าเรือประจำเมืองโกเบมากกว่า เขาเป็นแฟนตัวจริงของดนตรีตะวันตกและเกลียดวิธีการเขียนตามขนบของมิชิมา ในปี ค.ศ.๑๙๘๗ ความสำเร็จครั้งใหญ่ของนอร์วีเจียน วูด ที่สร้างชื่อเสียงให้เขาในชั่วข้ามคืน ทำให้เขาตกใจและรำคาญ ในเดือนธันวาคม ค.ศ.๑๙๘๘ เขาออกจากประเทศ ไปเป็นผู้บรรยายด้านการเขียนที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน นิตยสารรายสัปดาห์ของญี่ปุ่นฉบับหนึ่งรายงานการออกจากประเทศของเขา โดยพาดหัวว่า “ฮารูกิ มูราคามิ หนีออกจากญี่ปุ่นแล้ว”
    เดอะ ไวนด์-อัพ เบิร์ด โครนิเคิล (บันทึกนกไขลาน) ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. ๑๙๙๔ วิเคราะห์เจาะลึกวัฒนธรรมพวกมากลากไปที่นำญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ ๒ อันเป็นแก่นเรื่องที่เขาพูดถึงอีกครั้งในหนังสือความเรียงเล่มแรกชื่อ อันเดอร์กราวน์ด์ (ตีพิมพ์ ในปี ค.ศ. ๑๙๙๗) เกี่ยวกับการโจมตีรถไฟใต้ดินของลัทธิโอม ชินริเกียว เขาเป็นห่วงที่ญี่ปุ่นมีแนวโน้มจะลืมความโหดร้ายในช่วงเวลาสงคราม กระนั้น เขาก็กล่าวว่า “เมื่อก่อน ผมอยากเป็นนักเขียนที่อยู่ต่างประเทศ แต่ผมเป็นนักเขียนญี่ปุ่น ที่นี่เป็นพื้นดินของผมและเหล่านั้นเป็นรากของผม ยังไงคุณก็หนีจากประเทศของตนเองไม่พ้นหรอก
    5.มูราคามิเคยเปิดแจ๊ซคลับ
    เขาเป็นเจ้าของคลับแจ๊ซแห่งนั้นหลังจากจบมหาวิทยาลัยจนถึงปี ค.ศ. ๑1981เมื่อเขาสามารถเลี้ยงชีพได้ด้วยการเขียนหนังสือ เและอาจจะป็นประสบการณ์ที่ทำให้การดื่มเหล้าเป็นเรื่องลบในหนังสือของเขา เขาใช้เหล้าเป็นสิ่งบ่งบอกถึงความชั่วร้าย เรื่องไม่ดีและปีศาจ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะเลิกดื่มอย่างเด็ดขาด เขาชอบดื่มเบียร์ โดยใช้เบียร์เย็นๆ เป็นรางวัลให้ตัวเองเวลาที่เขียนหรือออกแรงเล่นกีฬาได้สำเร็จ  บางทีอาจจะเป็นเรื่องของการถูกบีบคั้น การเข้าสังคมที่มีเหล้าและผู้คนทำให้มูราคามิอึดอัด ครั้งหนึ่่งเขาเคยพูดว่า “ตอนที่ผมเปิดคลับ ผมยืนอยู่หลังบาร์ และงานของผมคือการชวนคุย ผมทำอย่างนั้นมาเจ็ดปี แต่ผมไม่ใช่คนช่างคุย ผมสัญญากับตัวเองว่า เมื่อผมเลิกทำบาร์ ผมจะพูดเฉพาะกับคนที่ผมอยากคุยด้วยจริงๆและเพราะเหตุนั้น เขาจึงปฏิเสธไม่ไปออกวิทยุและโทรทัศน์
    6. มูราคามิได้ดีมีทุกวันนี้เพราะเบสบอล
    เมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1978 วันที่อากาศอบอุ่น แดดจ้าตามประสาหน้าร้อน ขณะชมการแข่งขันเบสบอลระหว่างทีมยาคูลต์สวอลโลว์กับฮิโรชิมาคาร์ปที่สนามจิงงุในกรุงโตเกียว ในวินาทีที่เดฟ ฮิลตัน นักเล่นชาวอเมริกันของทีมสวอลโลว์ออกมาตีลูกโฮมรัน มูราคามิก็รู้ทันทีว่าเขาจะต้องเขียนนวนิยาย “เป็นความรู้สึกอบอุ่น ผมยังจดจำความรู้สึกนั้นได้อยู่ในใจ” เขาบอก เดอร์ ชปีเกลในการสัมภาษณ์เมื่อต้นปีที่แล้ว มูราคามิลงมือเขียน “ สดับลมขับขาน” (Hear the Wind Sing) นวนิยายเรื่องแรกในคืนนั้น นิยายเรื่องนี้แนวความคิดหลักของมูราคามิปรากฏให้เห็นหลายประการ ได้แก่ มีสัตว์ มีตัวเอกเป็นหนุ่มน้อยมัธยมปลายที่ค่อนข้างปลีกวิเวก พูดน้อย ล่องลอยและไม่มีงานทำ แฟนสาวของเขามีฝาแฝด (มูราคามิชอบการให้มี “ร่างเงาคู่ขนาน” ในงานของตน) มีฉากการทำอาหาร กิน ดื่ม และฟังเพลงตะวันตกบ่อยครั้งอย่างละเอียด และโครงเรื่องก็มีทั้งเรียบง่ายอย่างไม่น่าเชื่อและซับซ้อนวกวนจนสับสน
    หากการเขียนหนังสือขณะทำบาร์แจ๊ซไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งยังทำให้เรื่องไม่ปะติดปะต่อและกระโดดไปมา ต้นฉบับที่ไม่ได้รับการตีพิมพ์ได้รางวัลที่หนึ่งในการประกวดของนิตยสารวรรณกรรมญี่ปุ่นที่ทรงอิทธิพลอย่าง กุนโซ แต่มูราคามิไม่ชอบเรื่องนี้เท่าไรและไม่อยากให้แปลเป็นภาษาอังกฤษ
    7. มูราคามิชอบแมว
    บาร์แจ๊ซของเขาชื่อปีเตอร์แคต และมีแมวปรากฏอยู่ในเรื่องราวของเขาหลายเรื่อง โดยปกติแล้ว การปรากฏตัวของแมวมักเป็นลางบอกว่ากำลังจะเกิดเหตุการณ์ประหลาดเหลือแสนขึ้น เช่น เหตุการณ์แมวหายเป็นจุดเริ่มต้นห่วงโซ่ของสารพัดเหตุการณ์เหนือจริงใน บันทึกนกไขลาน (The Wind-up Bird Chronicle) ขณะที่เรื่อง คาฟกา วิฬาร์ นาคาตะ (Kafka on the Shore) พูดถึงชายชราผู้สับสนและอาจมีสติฟั่นเฟือนชื่อนาคาตะ ซึ่งหลังเกิดเหตุลึกลับบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับวัตถุลึกลับสีเงินกลางท้องฟ้าช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง เขามีอาการโคม่าและตื่นขึ้นมาพบว่าตนสามารถพูดกับแมวรู้เรื่อง และนั่นก็กลับกลายเป็นโชคดีไป เพราะบทสนทนากับแมวที่ฉลาดเฉลียวผิดปกติตัวหนึ่งซึ่งกำลังอยู่ระหว่างหลบหนีคนจับแมวที่ชื่อจอ์นนี วอล์กเกอร์ ทำให้นาคาตะหยุดยั้งปีศาจที่ซ่อนในร่างของเขาไม่ให้หลุดออกมาทำลายโลกนี้ได้
    เป็นเรื่องพิลึกกึกกือมาก อย่างที่ผมบอกใช่มั้ยล่ะครับ
    8. มูราคามิชอบดนตรีเอามากๆ
    ชื่อหนังสือหลายเล่มของเขาโยงใยกับดนตรี เรื่อง Norwegian Wood (ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย) มาจากเพลงของเดอะบีตเทิลส์ เรื่อง South of the Border, West of the Sun (การปรากฏตัวของหญิงสาวในคืนฝนตก) มาจากเพลงของแน็ต คิง โคล และเรื่อง Dance, Dance, Dance (เริงระบำแดนสนทยา) มาจากเพลงของบีชบอยส์
    หนังสือสามเล่มใน บันทึกนกไขลาน (The Wind-up Bird Chronicle ) ตั้งชื่อตามเพลงโหมโรงของรอสซินี เพลงดนตรีของชูมานน์ และตัวละครตัวหนึ่งในโอเปร่าเรื่องแมจิกฟลู้ตของโมซาร์ต ตามลำดับ
    ใน คาฟกา วิฬาร์ นาคาตะ (Kafka on the Shore)การพยายามติดต่อกับวิญญาณของหญิงที่ตายไปแล้วคนหนึ่งที่ตัวเอกพยายามมาตลอดเรื่องทำได้สำเร็จเมื่อเขาพบลังใส่แผ่นเสียงในห้องสมุดที่ถูกทิ้งร้างในชานเมือง และเล่นเพลง อาร์คดุ๊กทรีโอ ของบีโธเฟน
    ในเรื่อง พินบอล (Pinball, 1973) นักศึกษาที่ก่อการประท้วงยึดอาคารมหาวิทยาลัยเมื่อปี ค.ศ. 1973 ไปพบห้องสมุดเพลงคลาสสิกเข้า และใช้เวลาทุกเย็นฟังดนตรีที่เจอ และในบ่ายที่ฟ้ากระจ่างในเดือนพฤศจิกายน ตำรวจปราบจลาจลก็บุกเข้าไปในตึกขณะที่เพลงเอสโตรอาร์โมนิโกของวิวาลดีดังกึกก้อง
    นักสัมภาษณ์คนหนึ่งไปพบมูราคามิที่ห้องพักและพบว่าห้องของเขาเรียงรายไปด้วยแผ่นเสียงกว่า 7 พันแผ่น
    9. มูราคามิชอบวิ่งสุดๆ
    หนังสือเล่มล่าสุดของเขา What I Talk About When I Talk About Running (อันมีชื่อเล่นย่อๆ ว่า เรื่องวิ่ง หรือ วิ่งไปบ่นไป ซึ่งเรากำลังดำเนินการจัดแปลอย่างขะมักเขม้นเพื่อออกวางแผงให้สำเร็จภายในปีนี้) ถือเป็นสิ่งที่ใกล้เคียงอัตชีวประวัติที่สุดที่เขาเคยเขียน (แม้ว่าสาวกบางคนจะแอบคิดว่า ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย มีโครงเรื่องมาจากชีวิตจริงของเขามากกว่าก็ตามที) ในบทรำพึงขนาดยาวเล่มนี้ มูราคามิหวนรำลึกถึงชีวิตของเขาเหมือนดังมองผ่านแง่มุมต่างๆ ของกีฬาชนิดนี้
    มูราคามิเริ่มต้นวิ่งเมื่ออายุ 33 เพื่อลดน้ำหนักหลังจากเลิกสูบบุหรี่ ภายในหนึ่งปีเขาก็เข้าร่วมการแข่งขันวิ่งมาราธอนครั้งแรก นอกจากนั้นยังเคยวิ่งมาราธอนของแท้ (อันได้แก่การวิ่งจากเมืองมาราธอนไปยังกรุงเอเธนส์ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อและระยะทางในการวิ่งไกลประเภทนี้) เพื่อนำประสบการณ์ไปเขียนบทความ ถึงแม้เขาจะวิ่งสลับต้นทางกับปลายทาง โดยเริ่มว่ิงจากเอเธนส์ไปมาราธอนจุดหมายปลายทาง เพราะไม่อยากไปถึงเอเธนส์ในชั่วโมงเร่งด่วน
    สถิติการวิ่งมาราธอนที่ดีที่สุดของเขาคือ 3 ชั่วโมง 27 นาทีในนิวยอร์กเมื่อปี ค.ศ.1991ต่อมาในปี ค.ศ.1995เขาวิ่งอัลตรามาราธอนระยะทาง 100 กิโลเมตร และใช้วิ่งเวลากว่า 11 ชั่วโมง เหน็ดเหนื่อยถึงกับเกือบเป็นลมล้มพับเมื่อไปได้ครึ่งทาง เขาบรรยายว่าแรงฮึดของเขาเเป็นสมือนประสบการณ์ทางจิตวิญญาณ แต่ตัดสินใจว่าจะไม่วิ่งระยะยาวเหยียดอย่างนี้อีก มูราคามิเชื่อว่า “นักเขียนที่โชคดีอาจเขียนนวนิยายได้สักสิบสองเรื่องในชีวิต ผมไม่รู้ว่าผมยังเหลือเรื่องดีๆ อยู่ในตัวอีกกี่เรื่อง ผมหวังว่าจะมีอีกสักสี่หรือห้าเรื่อง แต่ตอนวิ่ง ผมไม่รู้สึกถึงข้อจำกัดนั้น ผมพิมพ์นวนิยายเล่มหนาหนึ่งเล่มทุกสี่ปี แต่ผมวิ่ง 10 กิโลเมตร ฮาล์ฟมาราธอน และมาราธอนทุกปี” เขาตื่นนอนตีสี่ เขียนหนังสือสี่ชั่วโมง จากนั้นวิ่ง 10 กิโลเมตร
    บนหลุมศพของเขา เขาอยากให้เขียนว่า “อย่างน้อยเขาก็ไม่เคยเดิน”
    10. มูราคามิเป็นคนโรแมนติก
    ตัวเอกของเขามักเปลี่ยนแปลงตัวเองหลังจากมีสัมพันธภาพอันอ่อนโยนอย่างประหลาดกับหญิงสาวสวย พิลึกพิลั่น ผู้มักจะสับสนหรือไม่ก็ลึกลับ เขาบรรยายความรักอย่างละเอียดอ่อนน่าอัศจรรย์ใจ ตัวเอกของเขามักจะขับเคลื่อนด้วยความเสน่หาที่เคยได้รับจากผู้หญิงในชีวิตของตน “ผมต้องคุยกับคุณ” โทรุ วาตานาเบ จาก ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย บอกนาโอโกะ สาวผู้มีจิตใจสับสน “ผมมีเรื่องราวเป็นล้านเรื่องที่อยากคุยกับคุณ ทั้งหมดที่ผมต้องการในโลกนี้คือคุณ ผมอยากพบคุณและพูดคุยกัน ผมอยากให้เราสองคนเริ่มต้นทุกอย่างจากจุดเริ่มต้น”
    กระนั้น มันก็มักไม่ได้ผล ผู้หญิงของมูราคามิมักจะหลุดโลกหรือไม่ก็บอบบางอย่างที่สุด พวกเธอจะเขียนจดหมายพร่ำรำพันยืดยาวถึงพระเอกส่งมาจากแดนไกล และถ้าไม่พยายามฆ่าตัวตายก็มักฆ่าตัวตายได้สำเร็จในเรื่อง ในเรื่อง คาฟกา วิฬาร์ นาคาตะ ความรักของพระเอกกลับกลายเป็นวิญญาณของแม่ที่ถูกจับตอนเธอเป็นวัยรุ่น
    ตัวมูราคามิเองแต่งานกับโยโกะตั้งแต่ปี ค.ศ.1971 หากเขาเองก็นึกสงสัยออกมาดังๆในบทสัมภาษณ์ว่า ตนเองทำถูกหรือเปล่าที่แต่งงาน “ผมไม่เหมือนภรรยาครับ ผมไม่ชอบมีเพื่อน ผมแต่งงานมา 37 ปีแล้ว และบ่อยครั้งมันเหมือนการสู้รบ” เขาบอกเดอร์ ชปีเกล “ผมเคยชินกับการอยู่คนเดียว และชอบอยู่คนเดียว”
    10 Questions ในนิตยสาร Time
    ของ ฮารูกิ มูราคามิ(Haruki Murakami)
    ฉบับ September 15, 2008
    http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,1838584,00.html
    ฮารูกิ มูราคามิ นักเขียนร่วมสมัยชาวญี่ปุ่นที่โด่งดังที่สุด ผู้มีผลงานนิยายเหนือจริงพิลึกพิลั่นที่ได้รับการแปลแล้วหลากหลายภาษา พร้อมตอบคำถามของท่านแล้ว ณ บัดนี้
    - คุณชอบหนังสือเล่มไหนมากที่สุด
    เดอะ เกรต เกสบี (The Great Gasby) ผมเคยแปลเมื่อไม่กี่ปีก่อน ตอนอายุยี่สิบกว่าๆ ผมอยากแปลเรื่องนี้ แต่ตอนนั้นผมยังไม่พร้อม
    - การวิ่งระยะไกลมีผลต่อการเขียนหนังสือของคุณอย่างไรบ้าง
    เวลาเขียนหนังสือเลมหนาๆ สิ่งที่คุณจำเป็นต้องมี มีอยู่สองอย่าง คือ สมาธิและความอึด การวิ่งระยะไกลทำให้ผมมีพลังความอึด
    -คุณใส่รองเท้าผ้าใบยี่ห้อไหนวิ่ง
    ผมไม่ยึดติดกับแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง ตอนนี้ผมใส่ไนกี้ แต่เป็นรองเท้าที่คนของไนกี้ให้มา
    -คุณมองตัวเองว่าเป็นนักเขียนญี่ปุ่น หรือเป็นแค่นักเขียนเฉยๆ
    ผมเป็นนักเขียนญี่ปุ่น ผมเกิดที่ญี่ปุ่นและใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในญี่ปุ่น ผมคิดเป็นภาษาญี่ปุ่นและเขียนเป็นภาษาญี่ปุ่นแต่ถึงอย่างนั้นผมก็มองโลกแบบสากล อย่างเช่น ตัวละครของผมชอบกินเต้าหู้มาก แล้วสมมติ เอาเป็นว่า...มีคนนอร์เวย์อ่านหนังสือของผม เขาก็จะคิดว่า “ไอ้หมอนี่ชอบกินเต้าหู้” แต่ผมก็ไม่รู้หรอกนะว่านักอ่านคนนั้นจะรู้หรือเปล่าว่าเต้าหู้เป็นยังไง แต่ถึงอย่างนั้นเขาก็ยังเข้าใจความรู้สึกของตัวละครตัวนั้นได้อยู่ดี
    -สิ่งที่มาจากวัฒนธรรมตะวันตกมีผลกับเรื่องที่คุณเขียนอย่างไรบ้าง
    เวลาผมเขียนให้ตัวละครต้มสปาเก็ตตี้กินเป็นอาหารกลางวัน และเมื่อมีตัวละครฟังเพลงของวงเรดิโอเฮดขณะขับรถ จะมีหลายคนคิดว่า เขาได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากเกินไป แต่เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับผม
    -ในนิยายของคุณมีเรื่องอาหารเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมาก มื้ออาหารในฝันของคุณเป็นอย่างไร
    มื้ออาหารที่ผมชอบมากที่สุด คือ ตอนที่คุณไม่รู้ว่าจะทำอะไรกินดี แล้วคุณก็เปิดตู้เย็น เจอผักคึ่นช่าย ไข่ เต้าหู้กับมะเขือเทศ ผมใส่ทุกอย่างลงไปเป็นอาหารจานที่ผมคิดขึ้นเองออกมา นั่นล่ะเป็นอาหารที่สดุยอดที่สุด ไม่มีการวางแผนใดๆ ทั้งสิ้น
    -ทำไมงานเขียนของคุณถึงมีคนอ่านทั่วโลก
    ไม่รู้เหมือนกันครับ แต่สไตล์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้างานเขียนแบบร้อยแก้วมีจังหวะที่เป็นธรรมชาติ เวลาแปลมันจะไม่เสียรสชาติ
    -ดนตรีแจ๊ซมีอิทธิพลต่องานเขียนของคุณอย่างไร
    ผมเคยเปิดบาร์แจ๊ซ และฟังเพลงแจ๊ซทุกวันตั้งแต่เช้ายันค่ำ ผมชอบการรู้จักจับจังหวะและการด้นสด นักดนตรีเก่งๆ ไม่รู้หรอกว่าต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น มันเป็นเรื่องของแรงกระตุ้นที่เกิดขึ้น ณ ตอนนั้น เวลาผมเขียนนิยายหรือเรื่องสั้น ผมไม่รู้หรอกว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป
    -ทำไมคุณถึงเขียนเรื่องราวที่มีความมหัศจรรย์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
    ผมเชื่อว่าความมหัศจรรย์และพลังของเรื่องจะให้กำลังใจและสร้างความตื่นตาตื่นใจกับคนเรา ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ นอกถ้ำมันมืด แต่ข้างในมีไฟและมีคนที่เล่าเรื่องเก่งอยู่ด้วย ทุกครั้งที่ผมเขียนงาน ผมจะนึกถึงถ้ำที่ว่านั่น เราอยู่กันเป็นกลุ่ม ข้างนอกมืดมิด และหมาป่ากำลังหอน แต่ผมมีเรื่องมาเล่าให้ฟัง
    -ช่วยพูดถึงนิยายเล่มต่อไปที่กำลังจะวางตลาดหน่อยได้มั้ยครับ
    ผมเขียนนิยายเล่มนี้มาเกือบสองปีแล้ว และมันจะเป็นหนังสือเล่มหนาที่สุดที่ผมเคยเขียนมา หนังสือทุกเล่มของผมเป็นเรื่องรักพิลึกๆ และเล่มนี้จะเป็นเรื่องรักพิลึกๆ ที่มีขนาดยาวมาก